จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

อุดรธานี

อำเภอเมืองอุดรธานี เรียกสั้นๆ ว่า “อุดร” หรือที่บางคนอาจเรียกตามชื่อตำบลว่าหมากแข้ง เป็นเมืองเล็กๆ ที่มีประชากรราว 150, 000 คน ที่นี่เป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรกรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสานของไทย อุดรธานีเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม เมื่อกองทัพสหรัฐฯ ได้มาสร้างฐานทัพอากาศร่วมกับราชอาณาจักรไทย ทหารสหรัฐฯ หลายคนได้ตัดสินใจอาศัยอยู่ที่อุดรธานี ทำให้ทุกวันนี้ที่นี่มีชุมชนชาวต่างชาติขนาดใหญ่ รวมทั้งมีคาเฟ่ ร้านค้า และร้านอาหารมากมายไว้รองรับ

สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อที่สุดของอุดรน่าจะเป็นแหล่งโบราณคดียุคสำริดอย่างบ้านเชียง ในช่วงปี 1960 นักโบราณคดีได้ค้นพบเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องประดับยุคสำริดบางส่วนในถ้ำสุสานที่มีอายุย้อนไป 2,100 ปีก่อนคริสตศักราช ด้วยเหตุนี้ บ้านเชียงจึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก และถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญที่สุดเกี่ยวกับยุคสำริดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้ อุดรยังเป็นจุดแวะพักยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางต่อไปยังประเทศลาว สะพานมิตรภาพที่เชื่อต่อจังหวัดหนองคายของไทยกับท่านาแล้งของลาว ช่วยให้การเดินทางข้ามฝั่งด้วยรถยนต์เป็นเรื่องง่าย และสามารถขับรถจากอุดรไปยังเวียงจันทน์ได้โดยใช้ระยะทางเพียง 90 กิโลเมตร

สำหรับเมืองที่ค่อนข้างเล็กเช่นนี้ อุดรถือว่ามีความเจริญมาก ด้วยโรงแรมหรูมากมายที่มีให้บริการอยู่ในย่านตัวเมืองใกล้กับตลาด ร้านสะดวกซื้อ และท่ารถตุ๊กตุ๊ก สนามบินนานาชาติอุดรธานี ตั้งอยู่ใกล้กับตัวเมือง และมีเที่ยวบินเชื่อมต่อไปยังภูเก็ต กรุงเทพฯ และหลวงพระบางของประเทศลาว
วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) หรือวัดภูย่าอู่ ตั้งอยู่ที่ บ้านนาหลวง หมู่ที่ 5 ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นวัดอบรมวิปัสสนากรรมฐานของจังหวัดอุดรธานีซึงหลังจากออกพรรษาแล้ว ก็จะมีหน่วยงานราฃการ องค์และกลุ่มต่างๆ รวมทั้งนักเรียนนิสิตนักศึกษา ที่สนใจในการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานเข้ามาขอเข้ารับการอบรม เพื่อเรียนรู้และเข้าถึงหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาตลอดจนการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความสงบสว่างในจิตใจเกิดความสุขสงบ มีสติสัมปชัญญะซึ่งหลวงปู่พระราชสิทธาจารย์ประธานสงฆ์ ให้เมตตาต่อผู้เข้ารับการอบรมและฝึกปฏิบัติ มีพระครูภาวนาธรรมาภินันทเป็นเจ้าอาวาส  โดยมีพระราชสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร) พระสุปฏิปันโนอีกรูปหนึ่งเป็นประธานสงฆ์ และตลอดเวลาที่ เข้ารับการอบรม จะมีพระครู และพระพี่เลี้ยงค่อยให้คำแนะนำและเอาใจใส่ด้วยความเมตตา ปัจจุบันมีภิกษุอยู่จำพรรษา 111 รูป เณร 1 รูป

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.watnaluangapinya.com

การเดินทาง วัดนาหลวงอยู่ห่างจาก จังหวัดอุดรธานี 102กิโลเมตรระยะทาง จากอุดรธานีถึงอำเภอบ้านผือ 52กิโลเมตร จากอำเภอบ้านผือ ถึงตำบล คำด้วง 23 กิโลเมตรจากตำบลคำด้วง ถึง วัดนาหลวง 27 กิโลเมตร (เป็นทางลูกรัง และเป็นทางขึเนเนินเขาบางตอน) สามารถไปมาได้โดยสะดวก
กิจกรรมระหว่างเข้าพรรษา ทางวัดจะไม่รับจัดกิจกรรมอบรม เนื่องจากพระภิกษุ ต้องปฏิบัติภารกิจระหส่างจำพรรษา และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยตื่นทำวัดเช้า เวลา 04.00 น. และปฏิบัติกิจจน 06.00 น. และอาจมีการประขุม จากนั้นเตรียมตักบาตร เวลา 09.30น. เวลา 16.00 น. ลงทำวัดเย็น และปฏิบัติธรรม จนถึงเวลา 20.00 น. และช่วงเดือนสุดท้านก่อนออกพรรษา การปฏิบัติของพระภิกษุก็จะเข้มข่นขึ้น โดย จะเริ่มทำวัดเช้าเวลา 03.30 น. และทำวัดเย็ยก็จะเริ่มเวลาเดิม และสิ้นสุด เวลา 22.00น. รวมทั้งมีการจัดให้พระสงฆ์อยู่ปริวาสกรรมปฏิบัติธรรมอย่างเข้มข่น ทำให้การปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ของวัดนาหลวงเป็นที่น่าเลื่อมใสและศรัทธาของประชาชนที่ได้พบเห็นและมีโอกาสได้เข้าไปทำบุญที่วัด
และทุกวันพระที่2 ของทุกเดือนหลวงปู่พระภาวงนาวิสุทธาจารย์ จะแสดงธรรมเทศสนาโปรดญาติโยม ที่เข้ามาทำบุญ และทุกวัน หลวงปู่จะเปิดโอกาสให้ญาติโยมไม่เข้าพบปะและสนทนาธรรม ระหว่างเวลา 12.00- 13.00 น ที่กุฎิประธานสงฆ์บริเวณ ลายไทรคู่ เป็นที่น่าเสียดาย ว่าไทรใหญ่ต้นหนื่ง ที่อยู่ด้านหน้าพระประธาน ได้หักล้มลง เมื่อคินวันที่ 25กันยายน 2549 จึงทำให้ในปัจจุบันคงเหลือต้นไทรในบริเวณลานไทรคู่เพียงต้นเดียว นี่เป็นสัจจะธรรม ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เที่ยง หลวงปู่บอกว่าไทรต้นนี้อายุประมาณ 420 ปีในโอกาสนี้ก็ขอนำภาพบรรยาการในกิจกรรมต่างๆของทางวัดมานำเสนอให้ท่านเพื่อประกอบการพิจารณาเพื่อตั้ดสิ้นใจเข้าวัดทำบุญ ศึกษาธรรมะ และปฏิบัติธรรม
 
  ความเป็นมาวัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)

    วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)  ตั้งอยู่บนยอดเขาภูย่าใกล้หมู่บ้านนาหลวง  อยู่ในเขตตำบลคำด้วง  อำเภอบ้านผือ  จังหวัดอุดรธานี  ห่างจากตัวอำเภอบ้านผือไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ  46  กิโลเมตร  ความเป็นมาเกี่ยวกับการตั้งวัดมีว่า  เมื่อปี พ.ศ. 2529  พระราชสิทธาจารย์  (หลวงพ่อทองใบ  ปภัสสโร)  เป็นพระสงฆ์ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้ปฏิบัติธรรมอย่างอุกฤษฏ์  มีความเข้าใจและซาบซึ้งในพระธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างยิ่ง  อยู่มาวันหนึ่งได้ทำความเพียรอย่างยอดยิ่งได้เข้าสมาบัติอยู่จนล่วงเข้า ปัจฉิมยาม (เวลาโดยประมาณ  03.00 น.) เมื่อออกจากสมาบัติได้นิมิตเห็นหมู่เทพธิดา 4 ตน  แต่งกายสวยงามสะอาดเรียบร้อยด้วยเสื้อสีขาว  ผ้าถุงสีน้ำเงิน  มือถือดอกฮวงสุ่ม (ดอกไม้ป่าเรียกชื่อและออกเสียงตามภาษาและสำเนียงท้องถิ่นอีสาน)  ในมโนทวาร  หลวงพ่อได้ทำความรู้สึกแผ่เมตตาสาราณียธาตุกว้างไกลโดยไม่มีประมาณ  หลังจากนั้นความรู้สึกกระแสจิตสามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับเหล่าเทพธิดา ได้  และรับรู้ว่าเทพธิดาเหล่านั้นต้องการให้ท่านเดินทางไปบำเพ็ญเพียรสร้างพลัง ธรรมโปรดสรรพสัตว์ที่  ภูย่าอู่  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกมีสัญลักษณ์สำคัญคือต้นไทรคู่  พระราชสิทธาจารย์  ตกลงใจว่าจะปฏิบัติตามคำขอร้องนั้นก่อนจากไปเทพธิดาตนหนึ่งได้กล่าวกับท่าน ว่า “จากนี้ไปอย่าไปเข้าถ้ำอีก”  พูดจบแล้วได้เอาดอกฮวงสุ่มปิดปากถ้ำไว้  ฝ่ายเทพธิดาตนที่เป็นหัวหน้าได้กล่าวกับท่าน  ด้วยถ้อยคำที่ไพเราะว่า “จงไปโปรดสัตว์เถิด”
    ต่อมาหลวงพ่อ  จึงปรารถนาที่จะเผยแผ่ให้พุทธศาสนิกชนได้ซาบซึ้งในธรรมรสนั้น  ทั้งยังปรารถนาที่จะยังสันติธรรมให้เกิดมีแก่สังคมโลก  จึงออกแสวงหาที่สับปายะ  ในที่สุดได้ค้นพบภูย่าอู่  ต้นไทรคู่ตามนิมิต  ตรงจุดที่ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า “ถ้ำเกิ้ง”  อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำโสมนายูง  บ้านนาหลวง  ตำบลคำด้วง  อำเภอบ้านผือ  จังหวัดอุดรธานี  เมื่อพิจารณาสภาพทางภูมิศาสตร์เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมกับการที่จะบำเพ็ญ บารมีธรรมปฏิบัติธรรมให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป  ทั้งยังเป็นสถานที่ที่เห็นเป็นชัยภูมิเหมาะที่จะก่อตั้งเป็นวัดถาวรต่อไปใน อนาคตจึงตัดสินใจเลือกสถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งวัดแต่นั้นมา
    ต่อมาเมื่อวันที่  9  มกราคม  2529  โดยการนำของหลวงพ่อทองใบ  ปภัสสโร  พร้อมด้วยพระภิกษุอีก  5  รูป  สามเณร  2  รูป  ได้เลือกปักกลดใต้ร่มไทรคู่บนภูย่าอู่  มีศรัทธาสาธุชนชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงพร้อมทั้งโยมอุปัฏฐากได้ร่วมแรงร่วม ใจกันสร้างกุฏิชั่วคราวขื้นเพื่ออำนวยความสะดวกตามอัตภาพ
    หลวงพ่อทองใบ  ปภัสสโร  เป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย  มีจริยวัตรงดงามสม่ำเสมอเหมาะสมแก่สมณสารูป  มีความแน่วแน่มุ่งมั่นเสียสละเผยแผ่เมตตาธรรมต่อมหาชนไม่มีประมาณ   ทำให้มีศิษย์เลื่อมใสศรัทธาเพิ่มมากขื้นอย่างกว้างขวาง  บุคคลเหล่านั้นได้ร่วมใจกันบริจาคทุนทรัพย์จัดสร้างเสนาสนะเครื่องอุปโภค บริโภคที่จำเป็นภายในวัดขึ้น  แต่สถานภาพยังคงเป็นสำนักปฏิบัติธรรม  แม้กระนั้นในแต่ละปีมีพระภิกษุเข้าอยู่จำพรรษากว่าร้อยรูป  ซึ่งล้วนมีความเคร่งครัดพากเพียรทั้งด้านสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน  หลวงพ่อทองใบ  ปภัสสโร  ได้ตั้งชื่อสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ว่า  วัดอภิญญาเทสิตธรรม  และเนื่องจากตั้งอยู่บนภูย่าอู่คนทั่วไปจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  วัดภูย่าอู่  เป็นชื่อที่ผู้คนทั่วไปเรียกกันติดปากเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
    เมื่อวันที่  16  มิถุนายน  2543  กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศแต่งตั้งให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ มีชื่อว่า “วัดนาหลวง”
    ปัจจุบันสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี  ได้ประกาศแต่งตั้งวัดนาหลวง  ให้เป็นสำนักวิปัสสนาธุระประจำจังหวัดอุดรธานี  โดยมีพระครูประภัสสรสุทธิคุณเป็นเจ้าสำนัก  ทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมให้แก่พระสงฆ์  นักเรียน  นักศึกษา  และประชาชนในเขตจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียงให้ได้รับประโยชน์ตน  ประโยชน์ผู้อื่น  และประโยชน์อย่างยิ่งเพื่อเกื้อกูลการธำรงส่งเสริมสืบทอดคำสอนของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป  ประกาศ  ณ  วันที่  1  มกราคม  2544  เป็นต้นมา  ผลงานของวัดที่ดำเนินการมาได้สนองเจตนารมณ์ตามประกาศได้ผลเป็นอย่างดี  ทั้งนี้มีบุคคลสำคัญที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ  คือ  พระอธิการ  บุญทัน  อัคคธัมโม  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  พระมหาสำรี  ธัมมจาโร  เป็นรองเจ้าอาวาส  ภายใต้การอำนวยการเป็นประธานสงฆ์  คือ  พระราชสิทธาจารย์  หรืออดีตพระครูประภัสสรสุทธิคุณ
    วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)  ตั้งอยู่บนยอดเขาภูย่าอู่  ซึ่งเป็นภูเขาลูกหนึ่งในกลุ่มเทือกเขาภูพานอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำ โสมนายูง  อยู่ห่างจากตัวอำเภอบ้านผือไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ  46  กิโลเมตร  ห่างจากหมู่บ้านนาหลวงประมาณ  5  กิโลเมตร บริเวณที่ปลูกสร้างอาคารเสนาสนะต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในศาสนกิจและที่พำนักอาศัยของพระภิกษุสงฆ์  สามเณร  แม่ชี  ตลอดจนสถานที่ที่ใช้ในการอบรมพุทธศาสนิกชน  ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและต้องการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานถือศีลบำเพ็ญ ภาวนามีประมาณ  15  ไร่  สำนักงานป่าไม้จังหวัดอุดรธานี  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้ทางวัดช่วยดูแลป่าอุทยานแห่งชาติที่อยู่ ล้อมรอบมีเนื้อที่ทั้งหมดโดยประมาณ  25,000  ไร่  ทั้งนี้เพื่อเป็นการอาศัยบารมีหลวงพ่อทองใบ  ปภัสสโร  ประธานสงฆ์แห่งวัด  ช่วยป้องกันการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าเป็นการอนุรักษ์ป่าไม้ต้นน้ำลำธารให้คง สภาพอุดมสมบูรณ์เสมอไป  ลักษณะของป่าไม้บนภูเขาแห่งนี้มีทั้งส่วนที่เป็นป่าเดิมและป่าใหม่ที่ปลูก ขึ้นทดแทนได้รับการดูแลรักษาอย่างดี  เป็นแบบอย่างในการรักษาระบบนิเวศสร้างความสมดุลให้ธรรมชาติ

อาณาเขตติดต่อของวัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)
ทิศเหนือ        ติดต่อกับ    บ้านตาดน้ำพุ    อำเภอบ้านผือ     จังหวัดอุดรธานี
ทิศใต้        ติดต่อกับ    บ้านสระคลอง    อำเภอบ้านผือ     จังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ    บ้านสว่างปากราง    อำเภอนายูง     จังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ    บ้านนาหลวง    อำเภอบ้านผือ     จังหวัดอุดรธานี
 

วัดพระพุทธบาทบัวบก


วัดพระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่กลางเทือกเขาภูพระบาท บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จากตัวอำเภอบ้านผือ เป็นถนนลาดยางระยะทางประมาณ ๑๖ กิโลเมตร เป็น ที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่มีตำนานเล่าขานว่า ราวปี 2460 พระสงฆ์รูปหนึ่งได้เกิดนิมิตรอัศจรรย์เห็นพระบรมสารีริกธาตุสีขาวในอุโมงค์ ในพื้นที่วัดจึงชักชวนชาวบ้านรื้ออุโมงค์นั้นออก แล้วสร้างเจดีย์ครอบไว้แทนพระบรมสารีริกธาตุ มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันน่าอัศจรรย์ทั้งก้อนหินธรรมชาติ สรรสร้าง ประหนึ่งศิลปินนำมาจัดวางเป็นงานศิลปะ อีกถ้ำพญานาคซึ่งเล่าขานแต่อดีตว่าทางเดินภายในสามารถทะลุไปถึงแม่น้ำโขง พุทธศาสนิกชนชาวไทย ลาว สองฝั่งโขงต่างเดินทางมาสักการะด้วยความเลื่อมใสศรัทธาสืบมาจนกาลปัจจุบัน วัดพระพุทธบาทบัวบกยังเป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะแก่การนั่งสมาธิปฏิบัติธรรม หลบหนีความวุ่นวายจากสถานการณ์บ้านเมืองได้
พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

ประวัติความเป็นมา
ตามตำนานพระเจ้าเหยียบโลก กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ในที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ได้เสด็จมาประทับอยู่ที่ดอยนันทะดังฮี ในแคว้นหลวงพระบาง ได้ทรงทราบว่า นาคแถบฝั่งโขงมีความดุร้าย มักรบกวนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ เพื่อที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ พระองค์จึงได้เสด็จไปยังถ้ำหนองบัวบาน และถ้ำบัวบก อันเป็นที่อาศัยของนาค 2 ตัว คือ กุทโธปาปนาค และมิลินทนาค พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมแก่กุทโธปาปนาค เมื่อกุทโธปาปนาคได้สดับพระธรรมเทศนา ก็บังเกิดความเลื่อมใสประกาศตนเป็นอุบาสก และถือพระไตรสรณาคมณ์เป็นสรณะ ที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต
หลังจากนั้นกุทโธปาปนาคก็นึกถึงน้องชายคือมิลินทนาคว่า ควรจะได้สดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์เช่นตน เพื่อจะได้ประพฤติตนในทางที่ถูกที่ควร จึงได้กราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงถ้ำบัวบกอันเป็นที่อยู่ของมิลินทนาค มิลินทนาคก็แสดงฤทธิ์อำนาจเพื่อขัดขวาง และทำร้ายพระพุทธองค์ด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่เป็นผล ในที่สุดจึงได้แปลงร่างเป็นมนุษย์ เข้าไปนมัสการพระพุทธองค์เพื่อขอขมา พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดมิลินทนาค
เมื่อมิลินทนาคได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ก็สำนึกผิดในสิ่งที่ตนได้กระทำไปแล้ว และทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา แต่เนื่องจากมิลินทนาคมิใช่มนุษย์ พระพุทธองค์จึงอุปสมบทให้ไม่ได้ เพราะผิดพระวินัย ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงประทานไตรสรณาคมณ์ ให้มิลินทนาคไว้เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกและถือปฏิบัติต่อไป เป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิต จากที่เคยเบียดเบียนทำร้ายสัตว์โลกมาเป็นช่วยเหลือเกื้อกูลสัตว์โลก ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา
เมื่อมิลินทนาครับไตรสรณาคมณ์แล้ว จึงกราบทูลขอรอยพระบาทพระพุทธองค์ไว้เป็นที่สักการะบูชา พระพุทธองค์ทรงพิจารณาสถานที่แล้ว จึงได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ สถานที่นี้ แล้วจึงเสด็จกลับพระเชตวันมหาวิหาร พระพุทธบาทแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า พระพุทธบาทบัวบก ตามชื่อถ้ำบัวบกนี้มิลินทนาคอาศัยอยู่
อีกทั้ง ในบริเวณใกล้เคียงกันก็ยังมี “ถ้ำพญานาค” ที่เชื่อว่าเป็นที่อยู่ของพญานาคมิลินทนาค ซึ่งมีลักษณะเป็นโพรงขนาดใหญ่อยู่ใต้ชะง่อนหิน และเชื่อกันว่าในถ้ำพญานาคนี้สามารถทะลุไปออกยังแม่น้ำโขงได้ ทั้งนี้ พุทธศาสนิกชนผู้ที่มาเยือนอุทยานภูพระบาทแห่งนี้ และได้มากราบรอยพระพุทธบาทแล้ว ก็อย่าลืมไปชมประติมากรรมหินซึ่งเป็นฝีมือของธรรมชาติ เช่น หอนางอุสา และถ้ำต่างๆ มากมาย
หลังจากนั้น พระพุทธบาทแห่งนี้ก็ถูกทอดทิ้งมาเป็นระยะเวลานานกว่าสองพันปี อาจจะมีผู้บูรณะมาตามลำดับแต่ไม่ปรากฎหลักฐาน การบูรณะครั้งล่าสุดดังที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นการบูรณะเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2462 โดยมีพระภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งจากอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม มีพระศรีทัตเป็นผู้นำ ได้ธุดงค์มาตามลำดับจนถึง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เพื่อค้นหารอยพระพุทธบาทตามตำนานดังกล่าวข้างต้น ชาวบ้านในแถบนั้นก็ให้ข้อมูลตามที่ทราบ ในที่สุดก็ได้ค้นพบรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ จากนั้นจึงได้ขอแรงชาวบ้านในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง สร้างพระเจดีย์ครอบรอยพระบาท ในการก่อสร้างต้องนำวัสดุมาจากที่ห่างไกล ทั้งจากประเทศไทยและจากประเทศลาว การคมนาคมก็ไม่สดวก ทำให้การก่อสร้างเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้เวลามาก แต่ด้วยแรงศรัทธาและความตั้งใจแน่วแน่ การก่อสร้างก็แล้วเสร็จ โดยใช้เวลาถึง 14 ปี

งานประจำปีทุ่งศรีเมือง มหกรรมโฮมพาแลง แดนผ้าหมี่ขิด

งานประจำปีทุ่งศรีเมือง มหกรรมโฮมพาแลง แดนผ้าหมี่ขิด
งานประจำปีทุ่งศรีเมือง มหกรรมโฮมพาแลง แดนผ้าหมี่ขิด จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-15 ธันวาคม ของทุกปี ที่สนามทุ่งศรีเมืองอุดรธานี ในงานมีการออกร้าน นิทรรศการของแต่ละหน่วยงาน ทั้งรัฐและเอกชน มีจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง หัตถกรรม และมีการแสดงรื่นเริวมากมาย และที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม มีการจัดงานพาแลงอันยิ่งใหญ่







พิธีเปิดงานประจำปีทุ่งศรีเมือง 2553

ขบวนแห่งานประจำปีทุ่งศรีเมือง

สวนสาธารณะหนองประจักษ์

สวนสาธารณะหนองประจักษ์ 
ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล  หนองประจักษ์เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่  มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี  เดิมเรียกว่า  “หนองนาเกลือ”  ตั้งอยู่ทิศทางตะวันตกของตัวเมือง  เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่  พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม  ผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานี  ในปี พ.ศ. 2530  จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น  “หนองประจักษ์”  เมื่อเทศบาลนครอุดรธานี  ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์หนองประจักษ์ใหม่  เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชกาลที่ 9  เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ  5  รอบ  โดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้จัดทำสวนหย่อม  ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดสวยงามมาก  ทำสะพานเชื่อม  ระหว่างเกาะ  มีน้ำพุ  หอนาฬิกา  และสนามเด็กเล่น  แต่ละวันจะมีประชาชนไปพักผ่อนและออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก

.  สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
.  สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี