จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

อุดรธานี

อำเภอเมืองอุดรธานี เรียกสั้นๆ ว่า “อุดร” หรือที่บางคนอาจเรียกตามชื่อตำบลว่าหมากแข้ง เป็นเมืองเล็กๆ ที่มีประชากรราว 150, 000 คน ที่นี่เป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรกรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสานของไทย อุดรธานีเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม เมื่อกองทัพสหรัฐฯ ได้มาสร้างฐานทัพอากาศร่วมกับราชอาณาจักรไทย ทหารสหรัฐฯ หลายคนได้ตัดสินใจอาศัยอยู่ที่อุดรธานี ทำให้ทุกวันนี้ที่นี่มีชุมชนชาวต่างชาติขนาดใหญ่ รวมทั้งมีคาเฟ่ ร้านค้า และร้านอาหารมากมายไว้รองรับ

สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อที่สุดของอุดรน่าจะเป็นแหล่งโบราณคดียุคสำริดอย่างบ้านเชียง ในช่วงปี 1960 นักโบราณคดีได้ค้นพบเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องประดับยุคสำริดบางส่วนในถ้ำสุสานที่มีอายุย้อนไป 2,100 ปีก่อนคริสตศักราช ด้วยเหตุนี้ บ้านเชียงจึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก และถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญที่สุดเกี่ยวกับยุคสำริดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้ อุดรยังเป็นจุดแวะพักยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางต่อไปยังประเทศลาว สะพานมิตรภาพที่เชื่อต่อจังหวัดหนองคายของไทยกับท่านาแล้งของลาว ช่วยให้การเดินทางข้ามฝั่งด้วยรถยนต์เป็นเรื่องง่าย และสามารถขับรถจากอุดรไปยังเวียงจันทน์ได้โดยใช้ระยะทางเพียง 90 กิโลเมตร

สำหรับเมืองที่ค่อนข้างเล็กเช่นนี้ อุดรถือว่ามีความเจริญมาก ด้วยโรงแรมหรูมากมายที่มีให้บริการอยู่ในย่านตัวเมืองใกล้กับตลาด ร้านสะดวกซื้อ และท่ารถตุ๊กตุ๊ก สนามบินนานาชาติอุดรธานี ตั้งอยู่ใกล้กับตัวเมือง และมีเที่ยวบินเชื่อมต่อไปยังภูเก็ต กรุงเทพฯ และหลวงพระบางของประเทศลาว
วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) หรือวัดภูย่าอู่ ตั้งอยู่ที่ บ้านนาหลวง หมู่ที่ 5 ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นวัดอบรมวิปัสสนากรรมฐานของจังหวัดอุดรธานีซึงหลังจากออกพรรษาแล้ว ก็จะมีหน่วยงานราฃการ องค์และกลุ่มต่างๆ รวมทั้งนักเรียนนิสิตนักศึกษา ที่สนใจในการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานเข้ามาขอเข้ารับการอบรม เพื่อเรียนรู้และเข้าถึงหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาตลอดจนการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความสงบสว่างในจิตใจเกิดความสุขสงบ มีสติสัมปชัญญะซึ่งหลวงปู่พระราชสิทธาจารย์ประธานสงฆ์ ให้เมตตาต่อผู้เข้ารับการอบรมและฝึกปฏิบัติ มีพระครูภาวนาธรรมาภินันทเป็นเจ้าอาวาส  โดยมีพระราชสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร) พระสุปฏิปันโนอีกรูปหนึ่งเป็นประธานสงฆ์ และตลอดเวลาที่ เข้ารับการอบรม จะมีพระครู และพระพี่เลี้ยงค่อยให้คำแนะนำและเอาใจใส่ด้วยความเมตตา ปัจจุบันมีภิกษุอยู่จำพรรษา 111 รูป เณร 1 รูป

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.watnaluangapinya.com

การเดินทาง วัดนาหลวงอยู่ห่างจาก จังหวัดอุดรธานี 102กิโลเมตรระยะทาง จากอุดรธานีถึงอำเภอบ้านผือ 52กิโลเมตร จากอำเภอบ้านผือ ถึงตำบล คำด้วง 23 กิโลเมตรจากตำบลคำด้วง ถึง วัดนาหลวง 27 กิโลเมตร (เป็นทางลูกรัง และเป็นทางขึเนเนินเขาบางตอน) สามารถไปมาได้โดยสะดวก
กิจกรรมระหว่างเข้าพรรษา ทางวัดจะไม่รับจัดกิจกรรมอบรม เนื่องจากพระภิกษุ ต้องปฏิบัติภารกิจระหส่างจำพรรษา และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยตื่นทำวัดเช้า เวลา 04.00 น. และปฏิบัติกิจจน 06.00 น. และอาจมีการประขุม จากนั้นเตรียมตักบาตร เวลา 09.30น. เวลา 16.00 น. ลงทำวัดเย็น และปฏิบัติธรรม จนถึงเวลา 20.00 น. และช่วงเดือนสุดท้านก่อนออกพรรษา การปฏิบัติของพระภิกษุก็จะเข้มข่นขึ้น โดย จะเริ่มทำวัดเช้าเวลา 03.30 น. และทำวัดเย็ยก็จะเริ่มเวลาเดิม และสิ้นสุด เวลา 22.00น. รวมทั้งมีการจัดให้พระสงฆ์อยู่ปริวาสกรรมปฏิบัติธรรมอย่างเข้มข่น ทำให้การปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ของวัดนาหลวงเป็นที่น่าเลื่อมใสและศรัทธาของประชาชนที่ได้พบเห็นและมีโอกาสได้เข้าไปทำบุญที่วัด
และทุกวันพระที่2 ของทุกเดือนหลวงปู่พระภาวงนาวิสุทธาจารย์ จะแสดงธรรมเทศสนาโปรดญาติโยม ที่เข้ามาทำบุญ และทุกวัน หลวงปู่จะเปิดโอกาสให้ญาติโยมไม่เข้าพบปะและสนทนาธรรม ระหว่างเวลา 12.00- 13.00 น ที่กุฎิประธานสงฆ์บริเวณ ลายไทรคู่ เป็นที่น่าเสียดาย ว่าไทรใหญ่ต้นหนื่ง ที่อยู่ด้านหน้าพระประธาน ได้หักล้มลง เมื่อคินวันที่ 25กันยายน 2549 จึงทำให้ในปัจจุบันคงเหลือต้นไทรในบริเวณลานไทรคู่เพียงต้นเดียว นี่เป็นสัจจะธรรม ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เที่ยง หลวงปู่บอกว่าไทรต้นนี้อายุประมาณ 420 ปีในโอกาสนี้ก็ขอนำภาพบรรยาการในกิจกรรมต่างๆของทางวัดมานำเสนอให้ท่านเพื่อประกอบการพิจารณาเพื่อตั้ดสิ้นใจเข้าวัดทำบุญ ศึกษาธรรมะ และปฏิบัติธรรม
 
  ความเป็นมาวัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)

    วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)  ตั้งอยู่บนยอดเขาภูย่าใกล้หมู่บ้านนาหลวง  อยู่ในเขตตำบลคำด้วง  อำเภอบ้านผือ  จังหวัดอุดรธานี  ห่างจากตัวอำเภอบ้านผือไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ  46  กิโลเมตร  ความเป็นมาเกี่ยวกับการตั้งวัดมีว่า  เมื่อปี พ.ศ. 2529  พระราชสิทธาจารย์  (หลวงพ่อทองใบ  ปภัสสโร)  เป็นพระสงฆ์ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้ปฏิบัติธรรมอย่างอุกฤษฏ์  มีความเข้าใจและซาบซึ้งในพระธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างยิ่ง  อยู่มาวันหนึ่งได้ทำความเพียรอย่างยอดยิ่งได้เข้าสมาบัติอยู่จนล่วงเข้า ปัจฉิมยาม (เวลาโดยประมาณ  03.00 น.) เมื่อออกจากสมาบัติได้นิมิตเห็นหมู่เทพธิดา 4 ตน  แต่งกายสวยงามสะอาดเรียบร้อยด้วยเสื้อสีขาว  ผ้าถุงสีน้ำเงิน  มือถือดอกฮวงสุ่ม (ดอกไม้ป่าเรียกชื่อและออกเสียงตามภาษาและสำเนียงท้องถิ่นอีสาน)  ในมโนทวาร  หลวงพ่อได้ทำความรู้สึกแผ่เมตตาสาราณียธาตุกว้างไกลโดยไม่มีประมาณ  หลังจากนั้นความรู้สึกกระแสจิตสามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับเหล่าเทพธิดา ได้  และรับรู้ว่าเทพธิดาเหล่านั้นต้องการให้ท่านเดินทางไปบำเพ็ญเพียรสร้างพลัง ธรรมโปรดสรรพสัตว์ที่  ภูย่าอู่  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกมีสัญลักษณ์สำคัญคือต้นไทรคู่  พระราชสิทธาจารย์  ตกลงใจว่าจะปฏิบัติตามคำขอร้องนั้นก่อนจากไปเทพธิดาตนหนึ่งได้กล่าวกับท่าน ว่า “จากนี้ไปอย่าไปเข้าถ้ำอีก”  พูดจบแล้วได้เอาดอกฮวงสุ่มปิดปากถ้ำไว้  ฝ่ายเทพธิดาตนที่เป็นหัวหน้าได้กล่าวกับท่าน  ด้วยถ้อยคำที่ไพเราะว่า “จงไปโปรดสัตว์เถิด”
    ต่อมาหลวงพ่อ  จึงปรารถนาที่จะเผยแผ่ให้พุทธศาสนิกชนได้ซาบซึ้งในธรรมรสนั้น  ทั้งยังปรารถนาที่จะยังสันติธรรมให้เกิดมีแก่สังคมโลก  จึงออกแสวงหาที่สับปายะ  ในที่สุดได้ค้นพบภูย่าอู่  ต้นไทรคู่ตามนิมิต  ตรงจุดที่ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า “ถ้ำเกิ้ง”  อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำโสมนายูง  บ้านนาหลวง  ตำบลคำด้วง  อำเภอบ้านผือ  จังหวัดอุดรธานี  เมื่อพิจารณาสภาพทางภูมิศาสตร์เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมกับการที่จะบำเพ็ญ บารมีธรรมปฏิบัติธรรมให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป  ทั้งยังเป็นสถานที่ที่เห็นเป็นชัยภูมิเหมาะที่จะก่อตั้งเป็นวัดถาวรต่อไปใน อนาคตจึงตัดสินใจเลือกสถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งวัดแต่นั้นมา
    ต่อมาเมื่อวันที่  9  มกราคม  2529  โดยการนำของหลวงพ่อทองใบ  ปภัสสโร  พร้อมด้วยพระภิกษุอีก  5  รูป  สามเณร  2  รูป  ได้เลือกปักกลดใต้ร่มไทรคู่บนภูย่าอู่  มีศรัทธาสาธุชนชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงพร้อมทั้งโยมอุปัฏฐากได้ร่วมแรงร่วม ใจกันสร้างกุฏิชั่วคราวขื้นเพื่ออำนวยความสะดวกตามอัตภาพ
    หลวงพ่อทองใบ  ปภัสสโร  เป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย  มีจริยวัตรงดงามสม่ำเสมอเหมาะสมแก่สมณสารูป  มีความแน่วแน่มุ่งมั่นเสียสละเผยแผ่เมตตาธรรมต่อมหาชนไม่มีประมาณ   ทำให้มีศิษย์เลื่อมใสศรัทธาเพิ่มมากขื้นอย่างกว้างขวาง  บุคคลเหล่านั้นได้ร่วมใจกันบริจาคทุนทรัพย์จัดสร้างเสนาสนะเครื่องอุปโภค บริโภคที่จำเป็นภายในวัดขึ้น  แต่สถานภาพยังคงเป็นสำนักปฏิบัติธรรม  แม้กระนั้นในแต่ละปีมีพระภิกษุเข้าอยู่จำพรรษากว่าร้อยรูป  ซึ่งล้วนมีความเคร่งครัดพากเพียรทั้งด้านสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน  หลวงพ่อทองใบ  ปภัสสโร  ได้ตั้งชื่อสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ว่า  วัดอภิญญาเทสิตธรรม  และเนื่องจากตั้งอยู่บนภูย่าอู่คนทั่วไปจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  วัดภูย่าอู่  เป็นชื่อที่ผู้คนทั่วไปเรียกกันติดปากเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
    เมื่อวันที่  16  มิถุนายน  2543  กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศแต่งตั้งให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ มีชื่อว่า “วัดนาหลวง”
    ปัจจุบันสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี  ได้ประกาศแต่งตั้งวัดนาหลวง  ให้เป็นสำนักวิปัสสนาธุระประจำจังหวัดอุดรธานี  โดยมีพระครูประภัสสรสุทธิคุณเป็นเจ้าสำนัก  ทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมให้แก่พระสงฆ์  นักเรียน  นักศึกษา  และประชาชนในเขตจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียงให้ได้รับประโยชน์ตน  ประโยชน์ผู้อื่น  และประโยชน์อย่างยิ่งเพื่อเกื้อกูลการธำรงส่งเสริมสืบทอดคำสอนของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป  ประกาศ  ณ  วันที่  1  มกราคม  2544  เป็นต้นมา  ผลงานของวัดที่ดำเนินการมาได้สนองเจตนารมณ์ตามประกาศได้ผลเป็นอย่างดี  ทั้งนี้มีบุคคลสำคัญที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ  คือ  พระอธิการ  บุญทัน  อัคคธัมโม  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  พระมหาสำรี  ธัมมจาโร  เป็นรองเจ้าอาวาส  ภายใต้การอำนวยการเป็นประธานสงฆ์  คือ  พระราชสิทธาจารย์  หรืออดีตพระครูประภัสสรสุทธิคุณ
    วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)  ตั้งอยู่บนยอดเขาภูย่าอู่  ซึ่งเป็นภูเขาลูกหนึ่งในกลุ่มเทือกเขาภูพานอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำ โสมนายูง  อยู่ห่างจากตัวอำเภอบ้านผือไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ  46  กิโลเมตร  ห่างจากหมู่บ้านนาหลวงประมาณ  5  กิโลเมตร บริเวณที่ปลูกสร้างอาคารเสนาสนะต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในศาสนกิจและที่พำนักอาศัยของพระภิกษุสงฆ์  สามเณร  แม่ชี  ตลอดจนสถานที่ที่ใช้ในการอบรมพุทธศาสนิกชน  ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและต้องการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานถือศีลบำเพ็ญ ภาวนามีประมาณ  15  ไร่  สำนักงานป่าไม้จังหวัดอุดรธานี  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้ทางวัดช่วยดูแลป่าอุทยานแห่งชาติที่อยู่ ล้อมรอบมีเนื้อที่ทั้งหมดโดยประมาณ  25,000  ไร่  ทั้งนี้เพื่อเป็นการอาศัยบารมีหลวงพ่อทองใบ  ปภัสสโร  ประธานสงฆ์แห่งวัด  ช่วยป้องกันการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าเป็นการอนุรักษ์ป่าไม้ต้นน้ำลำธารให้คง สภาพอุดมสมบูรณ์เสมอไป  ลักษณะของป่าไม้บนภูเขาแห่งนี้มีทั้งส่วนที่เป็นป่าเดิมและป่าใหม่ที่ปลูก ขึ้นทดแทนได้รับการดูแลรักษาอย่างดี  เป็นแบบอย่างในการรักษาระบบนิเวศสร้างความสมดุลให้ธรรมชาติ

อาณาเขตติดต่อของวัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)
ทิศเหนือ        ติดต่อกับ    บ้านตาดน้ำพุ    อำเภอบ้านผือ     จังหวัดอุดรธานี
ทิศใต้        ติดต่อกับ    บ้านสระคลอง    อำเภอบ้านผือ     จังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ    บ้านสว่างปากราง    อำเภอนายูง     จังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ    บ้านนาหลวง    อำเภอบ้านผือ     จังหวัดอุดรธานี
 

วัดพระพุทธบาทบัวบก


วัดพระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่กลางเทือกเขาภูพระบาท บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จากตัวอำเภอบ้านผือ เป็นถนนลาดยางระยะทางประมาณ ๑๖ กิโลเมตร เป็น ที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่มีตำนานเล่าขานว่า ราวปี 2460 พระสงฆ์รูปหนึ่งได้เกิดนิมิตรอัศจรรย์เห็นพระบรมสารีริกธาตุสีขาวในอุโมงค์ ในพื้นที่วัดจึงชักชวนชาวบ้านรื้ออุโมงค์นั้นออก แล้วสร้างเจดีย์ครอบไว้แทนพระบรมสารีริกธาตุ มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันน่าอัศจรรย์ทั้งก้อนหินธรรมชาติ สรรสร้าง ประหนึ่งศิลปินนำมาจัดวางเป็นงานศิลปะ อีกถ้ำพญานาคซึ่งเล่าขานแต่อดีตว่าทางเดินภายในสามารถทะลุไปถึงแม่น้ำโขง พุทธศาสนิกชนชาวไทย ลาว สองฝั่งโขงต่างเดินทางมาสักการะด้วยความเลื่อมใสศรัทธาสืบมาจนกาลปัจจุบัน วัดพระพุทธบาทบัวบกยังเป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะแก่การนั่งสมาธิปฏิบัติธรรม หลบหนีความวุ่นวายจากสถานการณ์บ้านเมืองได้
พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

ประวัติความเป็นมา
ตามตำนานพระเจ้าเหยียบโลก กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ในที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ได้เสด็จมาประทับอยู่ที่ดอยนันทะดังฮี ในแคว้นหลวงพระบาง ได้ทรงทราบว่า นาคแถบฝั่งโขงมีความดุร้าย มักรบกวนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ เพื่อที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ พระองค์จึงได้เสด็จไปยังถ้ำหนองบัวบาน และถ้ำบัวบก อันเป็นที่อาศัยของนาค 2 ตัว คือ กุทโธปาปนาค และมิลินทนาค พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมแก่กุทโธปาปนาค เมื่อกุทโธปาปนาคได้สดับพระธรรมเทศนา ก็บังเกิดความเลื่อมใสประกาศตนเป็นอุบาสก และถือพระไตรสรณาคมณ์เป็นสรณะ ที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต
หลังจากนั้นกุทโธปาปนาคก็นึกถึงน้องชายคือมิลินทนาคว่า ควรจะได้สดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์เช่นตน เพื่อจะได้ประพฤติตนในทางที่ถูกที่ควร จึงได้กราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงถ้ำบัวบกอันเป็นที่อยู่ของมิลินทนาค มิลินทนาคก็แสดงฤทธิ์อำนาจเพื่อขัดขวาง และทำร้ายพระพุทธองค์ด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่เป็นผล ในที่สุดจึงได้แปลงร่างเป็นมนุษย์ เข้าไปนมัสการพระพุทธองค์เพื่อขอขมา พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดมิลินทนาค
เมื่อมิลินทนาคได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ก็สำนึกผิดในสิ่งที่ตนได้กระทำไปแล้ว และทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา แต่เนื่องจากมิลินทนาคมิใช่มนุษย์ พระพุทธองค์จึงอุปสมบทให้ไม่ได้ เพราะผิดพระวินัย ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงประทานไตรสรณาคมณ์ ให้มิลินทนาคไว้เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกและถือปฏิบัติต่อไป เป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิต จากที่เคยเบียดเบียนทำร้ายสัตว์โลกมาเป็นช่วยเหลือเกื้อกูลสัตว์โลก ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา
เมื่อมิลินทนาครับไตรสรณาคมณ์แล้ว จึงกราบทูลขอรอยพระบาทพระพุทธองค์ไว้เป็นที่สักการะบูชา พระพุทธองค์ทรงพิจารณาสถานที่แล้ว จึงได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ สถานที่นี้ แล้วจึงเสด็จกลับพระเชตวันมหาวิหาร พระพุทธบาทแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า พระพุทธบาทบัวบก ตามชื่อถ้ำบัวบกนี้มิลินทนาคอาศัยอยู่
อีกทั้ง ในบริเวณใกล้เคียงกันก็ยังมี “ถ้ำพญานาค” ที่เชื่อว่าเป็นที่อยู่ของพญานาคมิลินทนาค ซึ่งมีลักษณะเป็นโพรงขนาดใหญ่อยู่ใต้ชะง่อนหิน และเชื่อกันว่าในถ้ำพญานาคนี้สามารถทะลุไปออกยังแม่น้ำโขงได้ ทั้งนี้ พุทธศาสนิกชนผู้ที่มาเยือนอุทยานภูพระบาทแห่งนี้ และได้มากราบรอยพระพุทธบาทแล้ว ก็อย่าลืมไปชมประติมากรรมหินซึ่งเป็นฝีมือของธรรมชาติ เช่น หอนางอุสา และถ้ำต่างๆ มากมาย
หลังจากนั้น พระพุทธบาทแห่งนี้ก็ถูกทอดทิ้งมาเป็นระยะเวลานานกว่าสองพันปี อาจจะมีผู้บูรณะมาตามลำดับแต่ไม่ปรากฎหลักฐาน การบูรณะครั้งล่าสุดดังที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นการบูรณะเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2462 โดยมีพระภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งจากอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม มีพระศรีทัตเป็นผู้นำ ได้ธุดงค์มาตามลำดับจนถึง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เพื่อค้นหารอยพระพุทธบาทตามตำนานดังกล่าวข้างต้น ชาวบ้านในแถบนั้นก็ให้ข้อมูลตามที่ทราบ ในที่สุดก็ได้ค้นพบรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ จากนั้นจึงได้ขอแรงชาวบ้านในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง สร้างพระเจดีย์ครอบรอยพระบาท ในการก่อสร้างต้องนำวัสดุมาจากที่ห่างไกล ทั้งจากประเทศไทยและจากประเทศลาว การคมนาคมก็ไม่สดวก ทำให้การก่อสร้างเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้เวลามาก แต่ด้วยแรงศรัทธาและความตั้งใจแน่วแน่ การก่อสร้างก็แล้วเสร็จ โดยใช้เวลาถึง 14 ปี

งานประจำปีทุ่งศรีเมือง มหกรรมโฮมพาแลง แดนผ้าหมี่ขิด

งานประจำปีทุ่งศรีเมือง มหกรรมโฮมพาแลง แดนผ้าหมี่ขิด
งานประจำปีทุ่งศรีเมือง มหกรรมโฮมพาแลง แดนผ้าหมี่ขิด จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-15 ธันวาคม ของทุกปี ที่สนามทุ่งศรีเมืองอุดรธานี ในงานมีการออกร้าน นิทรรศการของแต่ละหน่วยงาน ทั้งรัฐและเอกชน มีจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง หัตถกรรม และมีการแสดงรื่นเริวมากมาย และที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม มีการจัดงานพาแลงอันยิ่งใหญ่







พิธีเปิดงานประจำปีทุ่งศรีเมือง 2553

ขบวนแห่งานประจำปีทุ่งศรีเมือง

สวนสาธารณะหนองประจักษ์

สวนสาธารณะหนองประจักษ์ 
ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล  หนองประจักษ์เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่  มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี  เดิมเรียกว่า  “หนองนาเกลือ”  ตั้งอยู่ทิศทางตะวันตกของตัวเมือง  เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่  พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม  ผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานี  ในปี พ.ศ. 2530  จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น  “หนองประจักษ์”  เมื่อเทศบาลนครอุดรธานี  ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์หนองประจักษ์ใหม่  เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชกาลที่ 9  เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ  5  รอบ  โดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้จัดทำสวนหย่อม  ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดสวยงามมาก  ทำสะพานเชื่อม  ระหว่างเกาะ  มีน้ำพุ  หอนาฬิกา  และสนามเด็กเล่น  แต่ละวันจะมีประชาชนไปพักผ่อนและออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก

.  สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
.  สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี
สวนสาธารณะหนองประจักษ์   อุดรธานี







หมู่บ้านนาข่าและศูนย์หัตถกรรมบ้านเม่น


ลักษณะของสถานที่

 อยู่ในเขตอำเภอเมืองเป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าขิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าขิตในราคาย่อมเยา

ข้อมูลอาหารพื้นเมือง ( ถ้ามี ) ไข่กะทะ และ แหนมเนืองเวียดนาม

ของฝากของที่ระลึก

 ผ้าพื้นเมืองลายขิด, ผ้าไหม, เครื่องปั้นดินเผา, กุนเชียง, หมูหยอง, หมูยอ, แหนม และมะพร้าวแก้ว

ข้อมูลอื่นๆ ( มีโชว์ การแสดง )

 ชมและเลือกซื้อผ้าทอพื้นเมือง

ที่อยู่

 อ.เมือง

การเดินทางโดยรถยนต์

 ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายอุดรธานี-หนองคาย (ทางหลวงหมายเลข 2) หมู่บ้านอยู่ทางขวามือ ตรงข้ามโรงเรียนชุมชนนาข่า

การเดินทางโดยรถประจำทาง/รถตู้

 การเดินทางมีรถโดยสารประจำทางสายอุดรธานี-นาข่า ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นได้ที่หน้าสถาบันราชภัฎอุดรธานีและตลาดรังษิณา

สถานที่ติดต่อ

 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 5 โทร.0-4232-5406-7 หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร.1672

อุทยานแห่งชาตินายูงน้ำโสม


ข้อมูลทั่วไป
ในปี 2518 นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ กำนันตำบลนายูง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ได้มีหนังสือเสนอกรมป่าไม้ว่า ได้ร่วมกับหัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ อด.2 สำรวจพื้นที่ป่าในท้องที่ตำบลนายูง ในเขตเทือกเขาภูพานแล้วปรากฏว่า มีสภาพทั่วไปคล้ายคลึงกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชลบุรี ผิดแผกก็เฉพาะบนสันเขาของตำบลนายูงนี้มีความสวยงาม และน้ำตกสวยงามกว่ามาก เหมาะที่จะปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ กรมป่าไม้จึงให้กองบำรุงส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจหาข้อมูลดังกล่าว ปรากฏว่า ป่าตำบลนายูงแห่งนี้อยู่ในเขต ป่าโครงการไม้กระยาเลยนายูง (อด.25) ตอนที่ 10 อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ยังไม่เคยมีการทำไม้มาก่อน มีความสวยงามพอสมควร เห็นควรจัดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในรูปของวนอุทยาน กรมป่าไม้จึงได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2518 โดยอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานป่าไม้จังหวัดอุดรธานี

เนื่องจากบริเวณป่าที่ดำเนินการจัดตั้งเป็นวนอุทยานยังไม่ได้มีการสำรวจพื้นที่โดยละเอียด กรมป่าไม้จึงได้ให้สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานีไปดำเนินการ ปรากฏว่า วนอุทยานนายูง-น้ำโสมอยู่ในเขตป่าโครงการไม้กระยาเลยกลางใหญ่ (อด.26) ตอนที่ 7 และตอนที่ 8 เขตอำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี และป่าโครงการไม้กระยาเลยนายูง (อด.25) ตอนที่ 10 ตำบลนายูง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินายูง-น้ำโสม มีเนื้อที่ประมาณ 20.98 ตารางกิโลเมตร จนถึงปี พ.ศ. 2528 ได้โอนงานวนอุทยานนายูง-น้ำโสมให้สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานีเป็นผู้ดูแล ถึงปี พ.ศ. 2532 จึงโอนงานให้อยู่ในความดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้

ต่อมากรมป่าไม้ได้รับรายงานจากสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติว่า วนอุทยานนายูง-น้ำโสม และบริเวณพื้นที่ป่าใกล้เคียง ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์บางส่วนของป่าสงวนแห่งชาติป่าพรานพร้าว-แก้งไก้ ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเขาแก้ว-ดงปากชม และป่าสงวนแห่งชาติป่านายูง-น้ำโสม จังหวัดอุดรธานี เนื้อที่รวมประมาณ 215,000 ไร่ มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีสภาพธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะแก่การศึกษาท่องเที่ยวของประชาชนทั่วไป สมควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งให้หัวหน้าวนอุทยานนายูง-น้ำโสม ไปดำเนินการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสมต่อไป
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม เป็นพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี เลย และหนองคาย มีสภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงชันสลับซับซ้อนที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-500 เมตร ภูเขาที่สูงที่สุดคือ ภูย่าอู่ สูงประมาณ 588 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่ยังอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ เช่น ห้วยน้ำโสม ห้วยตาดโตน ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณและดินลูกรังตามป่าเต็งรัง หินที่พบในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินทราย
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม ฤดูร้อนอากาศร้อนมาก อุณหภูมิประมาณ 40 oC ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม และฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิประมาณ 10-20 oC ปริมาณน้ำฝนตลอดปีประมาณ 1,000-1,500 มิลลิเมตร
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังกระจายตามเชิงเขาและสันเขา พันธุ์ไม้สำคัญคือ เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นหญ้าเพ็ก กระเจียว ตามหุบเขาเป็นป่าเบญจพรรณ มีชิงชัน แดง ประดู่ มะค่าแต้ และไผ่หลายชนิด เช่น ไผ่ซาง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ไร่ ไผ่ป่า ตามริมห้วยเป็นป่าดิบแล้ง พบยาง กระบาก ตะเคียน ตะแบก มะค่าโมง ฯลฯ พืชอิงอาศัยจะมีกล้วยไม้ต่างๆ และเฟินกระเช้าสีดา ขึ้นเกาะอยู่ตามคาคบไม้อยู่มากมาย พืชพื้นล่างเป็นพวกหวาย ปาล์ม สมุนไพรต่างๆ

สัตว์ป่าที่พบเห็นได้แก่ หมูป่า เก้ง กระจง ลิง ค่าง กระรอก ตะกวด งู และนกชนิดต่างๆ ส่วนสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น กวางป่า เสือ ช้างป่า หมีควาย ถูกล่าหมดไปแล้ว สัตว์ป่าที่เหลือก็อยู่ในสถานภาพถูกคุกคาม เนื่องจากราษฎรรอบพื้นที่ยังมีการล่าสัตว์อยู่เป็นประจำ
น้ำตกยูงทอง
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 500 เมตร มีความสวยงามมากในช่วงน้ำหลากในฤดูฝน ลักษณะเป็นน้ำตกที่ไหลลงมาจาหน้าผาชันสูงราว 25 เมตร มีแอ่งน้ำกว้างลงเล่นน้ำได้ ในอดีตเป็นแหล่งอาศัยและหากินของนกยูง จนเป็นที่มาของชื่อ ยูงทอง
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก
จุดชมทิวทัศน์ผาแดง
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1,500 เมตร ตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง เป็นหน้าผาหินทรายที่สูงชัน มองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามเบื้องล่างได้กว้างไกล ใกล้กับผาแดงมีหลืบถ้ำเล็กๆ ที่เคยเป็นที่วิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง
เป็นทางเดินเท้าเพื่อศึกษาธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติจัดทำขึ้นเพื่อสื่อความหมายธรรมชาติแก่ผู้มาเยือน โดยได้จัดทำสื่อบรรยายลักษณะทางธรรมชาติตามเส้นทางเป็นระยะ ผ่านน้ำตกยูงทอง น้ำตกตาดน้อย จุดชมทิวทัศน์ผาแดง สภาพป่าเต็งรังที่สวยงาม และกลับถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทาง 2,000 เมตร
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
น้ำตกยูงทองน้ำตกธารทิพย์
น้ำตกธารทิพย์ (หรือ น้ำตกตาดหมอก) เป็นน้ำตกที่อยู่ในเขตจังหวัดหนองคาย อยู่ติดกับแม่น้ำโขง
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม
หมู่ 2 บ้านสว่าง ต.นายูง อ. นายูง จ. อุดรธานี 41380 
การเดินทาง
รถยนต์
จากจังหวัดอุดรธานีไปตามทางหลวงสายอุดรธานี-หนองคาย 15 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายผ่านอำเภอบ้านผือ ไปทางอำเภอน้ำโสม ก่อนถึงอำเภอน้ำโสม 12 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่บ้านสามเหลี่ยมไปทางอำเภอนายูง ประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงบ้านสว่างเลี้ยวขวาตรงป้ายอุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางจากอุดรธานี 110 กิโลเมตร

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

วัดป่าบ้านค้อ ตั้งอยู่บ้านค้อ ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ได้ก่อตั้งขึ้นโดยการนำของ “พระอาจารย์ทูล ขิบปปญโญ” (ปัจจุบันมรณภาพแล้วเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2551 ) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2528 มีเนื้อที่ 410 ไร่ ปัจจุบันมีเสนาสนะและสาธารณูปโภคเท่าที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัย ปฏิบัติธรรมสำหรับพระและฆราวาส มีเสนาสนะป่า เหมาะแก่การปลีกวิเวก ของผู้ใคร่ปฏิบัติธรรมในส่วนของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและการบริการชุมชน จังหวัดอุดรธานี กำหนดให้วัดป่าบ้านค้อเป็นศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำ จังหวัดอุดรธานี และได้เคยจัดให้มีการบรรพชาอุปสมบทอบรมกลุ่มปฏิบัติธรรมแก่ นักเรียนและประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังมีฑราวาสทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้าพักรับอุบายธรรมภาคปฏิบัติอยู่อย่างสม่ำเสมอ การเดินทางไปยังวัดป่าบ้านค้อ สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี – หนองคาย) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 13 เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 2021 (สายอุดร – บ้านผือ) อีก 20 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าวัดป่าบ้านค้ออีก 3 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอุดรธานี ประมาณ 36 กิโลเมตร หมายเลขโทรศัพท์ 0-4225-0730 โทรสาร 0-4225-0731
ดูแผนที่เส้นทางไปวัด  คลิ๊กที่นี่
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.watpabankoh.com/

ภายในวัดประดิษฐานพระมหาธาตุเจดีย์ เฉลิมบารมีพระนวมินทร์ ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ภายในพระมหาธาตุเจดีย์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา แกะสลักเป็นพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ชาดก และพุทธประวัติ วัดนี้เหมาะสำหรับผู้รักการปฏิบัติธรรม จังหวัดอุดรธานีกำหนดให้วัดป่าบ้านค้อเป็นศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำจังหวัด มีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาปฏิบัติกันอยู่เสมอ  นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงกับพระมหาธาตุเจดีย์ยังมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นกิ่งพันธุ์ที่ตอนกิ่งมาจากพรศรีมหาโพธิ์ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย
งานศพหลวงพ่อทูลวัดป่าบ้านค้อ อ. บ้านผือ จ. อุดรธานี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธุ์ 2552 พอวันรุ่งขึ้นเก็บกระดูก ปรากฏว่า อัฎฐิของท่านเริ่มเป็นอัฎฐิธาตุ มีสีต่างๆดังภาพ (เหลือง ชมพู เขียว นํ้าเงิน ขาว) มีหลายส่วนเริ่มเป็นอัฎฐิธาติเพิ่มขึ้นในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา พระอรหันต์มีได้หลายองค์ในช่วงเวลาเดียวกัน หลวงพ่อทูลถือว่าเป็นองค์ล่าสุดที่ละสังขารไป องค์ก่อนนี้คือ หลวงปู่เจี้ยศิษย์หลวงตามหาบัวเมื่อประมาณซัก สามปีที่ผ่านมา  ปัจจุบันมีหลายองค์ที่สำเร็จ และยังมีชีวิตอยู่ นับว่าโชคดีของชาวพุทธเราที่มีพระดีๆให้กราบไหว้.
 วัดป่าบ้านค้อ เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าบ้านค้อ เป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และเป็นวัดต้นแบบเข้าร่วมโครงการวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ เข้าวัดปฏิบัติธรรมบำเพ็ญกุศลในวันอาทิตย์
ประวัติวัดป่าบ้านค้อ
ได้ก่อตั้งขึ้นโดยการนำของพระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญฺโญ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๘ มีเนื้อที่โดยรวม ๔๑๐ ไร่ ปัจจุบันวัดป่าบ้านค้อ มีเสนาสนะและการสาธารณูปโภคเท่าที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัยปฎิบัติธรรมสำหรับพระ และฆราวาส มีเสนาสนะป่าเหมาะแก่การปลีกวิเวกของผู้ใคร่ในการปฎิบัติธรรม ในส่วนของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและการบริการชุมชน จังหวัดอุดรธานีกำหนดให้วัดป่าบ้านค้อเป็นศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำจังหวัดอุดรธานี ได้จัดให้มีการบรรพชาอุปสมบทอบรมกลุ่มปฏิบัติธรรมแก่ นักเรียน ข้าราชการและประชาชนทั่วไป อีกทั้ง ยังมีฆราวาสทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้าพักรับอุบายธรรมภาคปฏิบัติอยู่อย่างสม่ำเสมอ
ประวัติพระเจดีย์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อพระมหาเจดีย์แห่งนี้ว่า พระมหาธาตุเจดีย์เฉลิมพระบารมีพระนวมินทร์ แปลว่าเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้สร้างขึ้น เพื่อเฉลิมพระบารมีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
องค์เจดีย์ทรงระฆังมีความงดงามเป็นอย่างมาก ส่วนฐานกว้าง ๒๔ เมตร สูง ๗๒ เมตร ด้วยเหตุที่องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนเนินดินขนาดใหญ่ และบริเวณรอบเจดีย์มีการจัดแต่งภูมิทัศน์ที่สวยงาม ทำให้องค์เจดีย์มีความเด่นเป็นสง่าอย่างมาก เนื้อองค์เจดีย์พื้นผิวกรุกระเบื้องโมเสคสีมุก ส่วนยอดปลายเป็นดอกบัวทองคำ (บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๓๓ องค์) ภายในเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ได้อัญเชิญมาจากศรีลังกา จำนวน ๘ องค์ ส่วนโดมพระเจดีย์มีภาพจิตรกรรมพระมหาชนก ที่สวยงามเป็นอย่างมาก ส่วนบานประตูรอบองค์เจดีย์จำนวน ๔๔ บาน ได้แกะสลักกระจกเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้ รัฐบาลแห่งประเทศศรีลังกาได้แบ่งกิ่งพันธุ์ต้นพระศรีมหาโพธิ์ จากเมืองอนุราธปุระ อันเป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระนางสังฆฆิตตาเถรี ภิกษุณีที่เป็นพระอรหันต์ได้ตอนกิ่งมาจากต้นโพธิ์ตรัสรู้ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ถวายแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พระมหากษัตริย์แห่งศรีลังกา เมื่อสองพันปีเศษที่ผ่านมา
พิธีปลูกได้กำหนดขึ้นโดยมีประธานในพิธีคือ สมเด็จพระสังฆราชอูดูกามะ ศรีพุทธรักขิตตะ และท่านมิสเตอร์นิรันจัน นิลาแม ในนามตัวแทนรัฐบาลศรีลังกา พระธรรมโสภณ เจ้าคณะภาค ๘ (ธ) ประธานคณะสงฆ์ฝ่ายไทย และคณะพุทธบริษัทชาวไทยได้ร่วมกันปลูกไว้ ณ โพธิบัลลังก์แห่งนี้ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๕
งานประจำปี
ในช่วงเทศกาลมาฆบูชาของทุกปี ทางวัดจะจัดงานเป็นระยะวาลา ๕ วัน ๕ คืน มีการบวชชีพราหมณ์ รับฟังอุบายธรรมปฏิบัติจากครูบาอาจารย์ทั่วประเทศ ในวันสุดท้ายคือวันมาฆบูชา ช่วงบ่ายจะมีพิธีสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ และเวียนเทียนรอบพระมหาเจดีย์เวลากลางคืน

คำชะโนด

คำชะโนด เรื่องลี้ลับ บนความศรัทธา

 นาครากับเรื่องเล่าในสถานที่อันลึกลับ  ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี หรือช่วงออกพรรษา ประชาชนจากในพื้นที่หรือทั่วทั้งประเทศไทย ไม่มากก็น้อยต่างมุ่งหน้าสู่ จ.หนองคาย ดินแดนที่สร้างความตื่นตาตื่นใจจากตำนานเรื่องเล่าแต่โบราณ จนกลายเป็นสิ่ที่ผู้คนให้สนใจและต้องการไขความลับปริศนาเกี่ยวกับ พญานาคพ่นไฟ ต้องเดินทางมาพิสูจน์ด้วยตัวเอง แต่ก่อนที่จะเดินทางสู่ จ.หนองคายผมจะพาทุกท่านตามรอยพญานาค ที่มาของตำนานเรื่องเล่า ความลี้ลับและความเชื่อ
  คำชะโนด ตำบลวังทอง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี  เป็นสถานที่ ที่ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พญานาคาอาศัยอยู่ ชึ่งอยู่บริเวณวัดสิริสุทโธ เป็นที่น่าแปลกที่มีป่าขนาดใหญ่ปกคลุมด้วยนานาพรรณไม้โดยเฉพาะ ต้นชะโนด อยู่กลางทุ่งนา ก่อนที่จะเข้าไปชมในบริเวณป่าคำชะโนด ผมได้รับข้อมูลจาก ท่านกำนันของหมู่บ้าน ว่าด้วยเรื่องที่มาและความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค กำนันเล่าให้ฟังว่า
 “สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์  เนื่องจากชาวบ้านเชื่อว่าเป็นที่อาศัยอยู่และเป็นสถานที่สู่เมืองบาดาลของพญานาคตามความเชื่อ”  อีกทั้งบริเวณรอบศาลาเคยมีร่องรอยคล้ายๆรอยพญานาคอยู่ด้วย ซึ่งชาวบ้านต่างเชื่อว่านั้นคือร่องรอยพญานาค  แต่ที่ทำให้ผมหูผึ่งและขนลุก กลับเป็นเรื่องเล่าที่ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้
  เรื่องเกิดขึ้นในราวเดือนมกราคม พศ. 2532 มีคนมาว่าจ้างให้หนังเร่ ไปฉายที่บ้านวังทอง อำเภอบ้านดุง ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีประมาณ 100 กิโลเมตร โดยค่าจ้างตกลงกันไว้ 4000 บาท มีหนังฉาย 3-4 เรื่อง แต่มีข้อตกลงกันว่า ให้ฉาย 3 ทุ่มถึงแค่ตี 4 เท่านั้น ห้ามฉายถึงสว่าง พอตี 4 ก็ให้รีบเก็บข้าวของออกจากสถานที่ฉาย ซึ่งทางเจ้าของหนังแร่ก็ไม่ได้ทักท้วงอะไร เพราะเห็นว่าเป็นความต้องการของผู้มาว่าจ้าง
ทางเจ้าของก็ส่งให้เจ้าหน้าที่ไปตามวันและเวลาที่ได้นัดหมายหนังเริ่มฉายตั้งแต่ตอน 3ทุ่ม ในตอนหัวค่ำไม่เห็นผู้คน ก็ยังสงสัยว่าหายไปไหนหมด แต่พอ3ทุ่มก็มีคนมาเป็นจำนวนมาก และที่แปลกคือ ผู้หญิงซึ่งนุ่งขาวห่มขาวจะนั่งอยู่ด้านหนึ่ง ส่วนผู้ชายใส่เสื้อผ้าสีดำจะนั่งอีกข้างหนึ่ง และคนทั้หมดก็นั่งกันสงบเงียบเรียบร้อยเหมือนจะไม่เคลื่อนไหวตัว และที่ยิ่งกว่านั้นคือ ไม่ว่าจะฉายหนังอะไร ก็ไม่มีการส่งเสียงหรือแสดงความรู้สึก เหมือนกับฉายหนังกลางแปลงทั่วๆไป ฉายหนังบู๊ ก็เฉย ฉายหนังตลกก็เฉยคนเราอย่างน้อยถึงเป็นคนจริงจังยังไงผมว่าต้องแสดงออกมาบ้างว่าชอบหรือไม่ชอบ แต่นี้กลับอยู่ในอาการที่สงบ
แต่ที่น่าสังเกตุอีกอย่างคือปกติเวลามีการฉายหนังกลางแปลงในต่างจังหวัด ก็เหมือนกับมีงานเทศกาลสร้างความคลึกคลื้นให้คนในหมู่บ้านเป็นอย่างมาก ร้านค้า ร้านอาหาร ต่างพากันมาเปิดเพื่อซื้อขายกันมากมาย งานนี้ กลับไม่มีเลย บรรยากาศโดยรอบดูเย็นยะเยือกไปหมด
 พอถึงตี 4  มีคนมาบอกว่าให้เก็บข้าวของไปได้แล้ว อีกทั้งยังสั่งว่าเมื่อเก็บข้าวของเสร็จแล้ว ห้ามเหลียวหลังกลับมาดูเด็ดขาด พอทางเจ้าหน้าที่เก็บของและจัดการทุกอย่างเรียบร้อยก็ออกเดินทางออกจากที่ทำการฉายหนัง แต่ก็เอะใจในคำสั่ง เลยหันกลับไปดู เท่านั้นแหละพี่น้องครับพวกคนดูก็ไม่รู้หายไปไหนกันหมด หายไปอย่างรวดเร็ว ทำเอาต่างฉงนสงสัย
 อีกทั้งพื้นที่ตรงนั้นกลับเป็นป่าทึบที่แม้ที่ๆ จะเอาจอหนังขึงยังแทบจะไม่มี พอขับรถมาถึงหมู่บ้านวังทองตอนเช้าก็แวะซื้อของที่ร้านค้า ชาวบ้านเลยถามว่าไปฉายหนังที่ไหนมา เจ้าหน้าที่ ก็บอกว่าฉายในหมู่บ้านวังทอง แต่ชาวบ้านกลับยืนยันว่าไม่มีหนังมาฉายในหมู่บ้านเลย  แม้กระทั่งเสียงยังไม่ได้ยิน
เรื่องก็เลยยุ่งว่าเมื่อคืน ไปฉายหนังที่ไหนมา ในที่สุดเมื่อสอบถามกันจนเป็นที่เข้าใจ ไปฉายหนังที่ใน ดงคำชะโนดซึ่งเป็นสถานที่ลึ้ลับที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเมืองพญานาค มีภูตผีปีศาจสิงสถิตอยู่ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับหมู่บ้านวังทองนี่เองก็เลยเชื่อว่า”ถูกผีจ้างไปฉายหนังจริงอย่างที่ชาวบ้านว่า
”ปัจจุบันชาวบ้านเชื่อว่า ดงคำชะโนดเป็นที่อาศัยของพญานาคและเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ก่อนที่จะเข้าไป มีข้อห้ามเช่น ห้ามใส่รองเท้า หมวก แว่นตา และร่ม วันที่ผมเดินทางไปนั้นปรากฎว่าฝนตก นึกว่างานนี้เจอข้อห้ามอย่างนี้คงได้ ไข้หวัดกลับไปเป็นที่ระลึกแน่ แต่ยังดีที่สามารถใส่เสื้อฝนได้
ทางเข้ามีรูปปั้นพญานาค 2 ตัว 7 เศียร อยู่ช้ายขวาลำตัวยาวเข้าไปในป่าดง คำชะโนด ชึ่งคล้ายสะพานที่ทอดยาวผ่านท้องนาสู่ป่าที่ดูจากภายนอกแล้ว ลึกลับซ่อนแร้นน่าพิศวง ผมเดินสู่ดงคำชะโนด ด้วยความตรวจตราอย่างพินิจพิเคราะห์ ส่วนใหญ่พืชที่ขึ้นเป็น ต้นชะโนด ลักษณะคล้ายต้นหมาก ปาล์ม ต้นตาลและมะพร้าวมารวมกัน
เดินไปประมาณ 200-300 เมตร ก็จะพบศาล ที่มีผู้คนมาสักการะบูชา บริเวณใกล้มีฆ้องไว้ให้คนที่มาลูบ เชื่อว่าใครที่ลูบจนเกิดเสียงคนนั้นจะโชคดี ไม่ไกลกันนักเป็นบ่อน้ำที่เชื่อกันว่าเป็นเส้นทางที่จะไปสู่เมืองบาดาล ใครที่มีโอกาสได้มาอย่าลืมดื่มน้ำหรือเอามาพรม เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้หายจากโรคภัยและเสริมมงคลให้กับตัวเอง งานนี้ผมพลาดไม่ได้ที่จะปฎิบัติตาม เพราะอย่างน้อยก็ทำให้เราสบายใจครับ ผมเดินกลับออกมาโดยที่ไม่กลับไปเหลียวหลังเพราะว่าบางที อาจจะไม่เห็น ดงป่าคำชะโนดนี้ก็เป็นได้
ความเชื่อหรือตำนานเรื่องเล่าเป็นความเชื่อแล้วแต่บุคคล แต่อย่างน้อยก็ทำให้เรามองเห็นที่มาความเป็นไปและนึกภาพย้อนตามได้อย่างมีอรรถรส อีกทั้งการเดินทางมา คำชะโนด ครั้งนี้ก็ถือว่าได้มาพบสถานที่ใหม่และผู้คน อย่างน้อยก็ไม่ทำให้คาใจว่า “เราเคยเดินทางสู่คำชะโนด เมืองวังบาดาลของพญานาคาหรือยัง”
ยอด แก้วสุวรรณ...เรื่อง/ภาพ

คำชะโนด

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

วัดป่าบ้านตาด/ Wat Pa Ban Tad



วัดป่าบ้านตาด เริ่มก่อตั้งเมื่อปี เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๘ ต่อมากระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ให้ชื่อว่า วัดเกษรศีลคุณ ซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในนาม วัดป่าบ้านตาด

ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีไปทางทิศใต้ ประมาณ ๑๖ กิโลเมตรโดยมีศรัทธาญาติโยมชาวบ้านตาดถวาย พื้นที่ในกำแพงล้อมรอบประมาณ ๑๖๓ ไร่ และบริเวณรอบกำแพงที่มีผู้ซื้อที่ถวายอีกหลายแปลง ตลอดทั้งทางวัดซื้อที่เพิ่ม อีกประมาณ ๑๔๐ ไร่ รวมประมาณ ๓๐๐ ไร่ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม อันสงบเรียบง่าย ร่มครึ้มไปด้วยต้นไม้สูงใหญ่นานาพันธุ์ เป็นสถานที่พึ่งพิงของสัตว์น้อยใหญ่ ในเขตอภัยทานหลากชนิด อาทิ ไก่ป่า กระรอก กระแต กระต่าย เต่า แย้ นก ฯลฯ

เมื่อก้าวย่างเข้าสู่บริเวณวัด จะพบศาลาการเปรียญซึ่งเป็นศาลาไม้หลังใหญ่ เดิมทีเป็นศาลาชั้นเดียวยกพื้นเตี้ย แต่ภายหลังถูกยกให้สูงขึ้น ๒ ชั้น เพื่อจะใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ด้านบนศาลานั้น ให้เป็นที่ประดิษฐาน ของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่เป็นพระประธานของวัด ใช้เป็นที่แสดงธรรมอบรมแก่พระภิกษุสามเณรในวัด ตลอดจนเป็นที่ประชุมทำสังฆกรรมร่วมกัน เช่น สวดพระปาฏิโมกข์ อธิษฐานเข้าพรรษา สวดปวารณา และกรานกฐินเป็นต้น ตู้ด้านขวาขององค์พระประธาน นั้น เป็นที่ประดิษฐานอัฐิธาตุของ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงตามหาบัว รวมทั้งอัฐิธาตุของครูบาอาจารย์องค์อื่นๆ ส่วนด้านล่างศาลานั้นใช้เป็นที่สำหรับฉันภัตตาหารเช้า สถานที่ที่หลวงตามหาบัวใช้ในการแสดงธรรมเทศนาและปฏิสันถารกับศรัทธาฆราวาสญาติโยม ที่มาจากทุกสารทิศอย่างไม่ขาดสายไม่เว้นแต่ละวัน

สำหรับศาลาใหญ่ด้านนอกกำแพงนั้น สร้างเสร็จเมื่อปลายปี ๒๕๔๔ มีศรัทธาญาติโยมขอสร้างถวาย หลวงตาท่านพิจารณาดูแล้ว เพราะเกี่ยวกับงานช่วยชาติที่จัดหลายๆ ครั้ง เช่น กฐินช่วยชาติเป็นต้น ญาติโยมจากทุกสารทิศไม่มีที่พักอาศัย และที่ร่มบังในเวลามีงานแต่ละวาระ จึงเมตตาให้สร้างเพื่ออาศัยประโยชน์จากจุดนี้

กุฏิของพระภิกษุสามเณรแต่ละรูป เป็นกุฏิเรียบง่าย พอแก่การบังแดด ลม ฝน จะสูงจากพื้นดิน ประมาณ ๑ เมตร เพื่อกันการรบกวนจากสัตว์เลื้อยคลาน ความชื้นจากพื้นดิน ฯลฯ มีขนาดเพียงพอ สำหรับอยู่เพียงองค์เดียว ฝาผนังส่วนใหญ่ใช้จีวรเก่าขึงแทน เพื่อกันลม กันฝน ใช้มุ้งกลดกันยุง ภายในกุฏิจะมีเพียงกลด เสื่อปูนอน ผ้าห่ม เครื่องอัฏฐบริขาร ตะเกียงหรือเทียนไข และของใช้ ที่จำเป็นอื่นๆ ด้านหัวนอนจะมีพระพุทธรูปหรือรูปครูบาอาจารย์ติดไว้ เพื่อกราบไหว้บูชาเป็น กำลังใจในการบำเพ็ญภาวนา ทุกกุฏิจะมีทางเดินจงกรมอย่างน้อย ๑ เส้น ยาวประมาณ ๒๕ ก้าว อยู่ใต้ร่มไม้ดูร่มเย็น ในยามค่ำคืนการเดินจงกรม จะใช้โคมเทียนจุดสว่างพอให้เห็นทาง กุฏิแต่ละหลัง จะมองไม่เห็นกันประหนึ่งว่า อยู่ท่ามกลางป่าเพียง องค์เดียว เพื่อให้สัปปายะสะดวกในการบำเพ็ญ สมณธรรม

กุฏิที่สร้างถาวรมีอยู่รวมประมาณ ๑๐ กว่าหลัง เป็นกุฏิของหลวงตา ภิกษุสูงอายุ กุฏิของญาติโยม ตามปกติญาติโยมทั้งหญิงและชายมักมาขออยู่พัก ปฏิบัติธรรมภาวนา เป็นช่วงเวลาสั้นๆ โดยเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง ประมาณ ๕๐-๑๐๐ คน จัดแยก เขตกันระหว่างพระภิกษุสามเณร ญาติโยมชายและหญิงอย่างเป็นระเบียบ

สำหรับวัดป่าบ้านตาดนี้ หลวงตาท่านเน้นย้ำถึงเรื่องมหาภัย ๕ ประเภทที่ไม่ให้พระเกี่ยวข้องเด็ดขาด คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ วิดิโอ โทรศัพท์ เพราะเป็นอุปสรรคต่อการบำเพ็ญสมณ ธรรมโดยตรง อีกทั้งไฟฟ้า ก็ไม่ให้ต่อเข้ามาในวัด มีเพียงเครื่องปั่นไฟ เพื่อใช้ในบางกาล ที่ประชาชนมาทำบุญมาก เป็นกรณีพิเศษในวันสำคัญทางศาสนาเท่านั้น

กิจวัตรประจำวันหลักของพระเณรก็คือ การนั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรม เพื่อฝึกสติปัญญา และชำระกิเลสตัวร้อนรุ่มกระวนกระวายภายในจิตใจให้เหือดแห้งไป พระในวัดนี้จะไม่รับกิจนิมนต์ ไปฉันในที่ต่างๆ เพื่อมีเวลาสำหรับบำเพ็ญเพียรภาวนาเพียงอย่างเดียว

ที่วัดป่าบ้านตาดปัจจุบัน (ปี ๔๔) ในพรรษามีพระเณรจำพรรษา ๔๙ รูป สามเณร ๑ รูป นอกพรรษาจะมีพระภิกษุสามเณรอาคันตุกะ เข้ามาพักศึกษาข้อวัตร ปฏิบัติเพิ่มขึ้นรวมเป็น ๕๐-๖๐ รูปเป็นประจำ สำหรับในยามเช้าก่อนออก บิณฑบาตทั้งพระและเณรต่างช่วยกันขัดถูปัดกวาดศาลาและบริเวณรอบๆ เสร็จแล้วเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ระยะทางไปกลับประมาณ ๓ กิโลเมตร ขากลับแวะรับบาตรที่หน้าวัดอีกครั้งหนึ่ง และในช่วงประมาณ บ่าย ๓ โมงเย็น ท่านก็จะออกมาทำข้อวัตรปัดกวาด เสนาสนะ ขัดถู กุฏิ ศาลา บริเวณวัด ทำความสะอาด ห้องน้ำห้องส้วม อย่างพร้อมเพรียงกัน

หลวงตาได้ พยายามสอนพระเณรอยู่เสมอ ในเรื่อง ความเรียบง่าย มักน้อยสันโดษ การใช้สอย ปัจจัยสี่ที่ศรัทธาญาติโยมถวายมานั้น ให้เป็นไปด้วยความประหยัด ใช้สอยในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น หลายท่านที่ตั้งใจจะมากราบหลวงตาที่วัด อาจจะแปลกใจหากไม่พบป้ายชื่อวัด แต่นั่นก็อาจจะทำให้หลายคนได้นึกคิดจาก ปริศนาธรรมนี้ว่า หลวงตาท่านทำมีความหมายอย่างไร หลายคนอาจจะตีความหมายไปต่างๆนานา มีบางท่านตีความหมายนี้ ซึ่งดูเหมือนจะเข้าทีที่สุดว่า การเดินทาง ถ้าเดินตามแผนที่ที่บอกเป็นระยะ ว่าเส้นทางจะผ่านจุดที่สำคัญจุดไหนบ้าง เป็นลำดับ จนกระทั่งการเดินทางตามเส้นทางไปถึงจุดหมาย ถึงแม้จุดหมายจะไม่มีชื่อบอกก็ตาม ทุกคนที่เดินทางไปก็จะทราบเองว่า ถึงจุดหมายหรือยัง ชื่อก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป หรือเส้นทางไปสู่วิมุตตินิพพานก็เช่นกัน ปฏิบัติไปตามหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าวางไว้ เมื่อไปถึงแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องถามใครว่าถึงจุดมุ่งหมายหรือไม่ ปริศนาธรรมนี้ อาจทำให้ผู้มีปัญญาทั้งหลายพอจะทราบว่า หลวงตาท่านสอนอะไร ตั้งแต่เริ่มก้าวเข้ามาในวัดนี้....