ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.watnaluangapinya.com
การเดินทาง วัดนาหลวงอยู่ห่างจาก จังหวัดอุดรธานี 102กิโลเมตรระยะทาง จากอุดรธานีถึงอำเภอบ้านผือ 52กิโลเมตร จากอำเภอบ้านผือ ถึงตำบล คำด้วง 23 กิโลเมตรจากตำบลคำด้วง ถึง วัดนาหลวง 27 กิโลเมตร (เป็นทางลูกรัง และเป็นทางขึเนเนินเขาบางตอน) สามารถไปมาได้โดยสะดวก
กิจกรรมระหว่างเข้าพรรษา ทางวัดจะไม่รับจัดกิจกรรมอบรม เนื่องจากพระภิกษุ ต้องปฏิบัติภารกิจระหส่างจำพรรษา และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยตื่นทำวัดเช้า เวลา 04.00 น. และปฏิบัติกิจจน 06.00 น. และอาจมีการประขุม จากนั้นเตรียมตักบาตร เวลา 09.30น. เวลา 16.00 น. ลงทำวัดเย็น และปฏิบัติธรรม จนถึงเวลา 20.00 น. และช่วงเดือนสุดท้านก่อนออกพรรษา การปฏิบัติของพระภิกษุก็จะเข้มข่นขึ้น โดย จะเริ่มทำวัดเช้าเวลา 03.30 น. และทำวัดเย็ยก็จะเริ่มเวลาเดิม และสิ้นสุด เวลา 22.00น. รวมทั้งมีการจัดให้พระสงฆ์อยู่ปริวาสกรรมปฏิบัติธรรมอย่างเข้มข่น ทำให้การปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ของวัดนาหลวงเป็นที่น่าเลื่อมใสและศรัทธาของประชาชนที่ได้พบเห็นและมีโอกาสได้เข้าไปทำบุญที่วัด
และทุกวันพระที่2 ของทุกเดือนหลวงปู่พระภาวงนาวิสุทธาจารย์ จะแสดงธรรมเทศสนาโปรดญาติโยม ที่เข้ามาทำบุญ และทุกวัน หลวงปู่จะเปิดโอกาสให้ญาติโยมไม่เข้าพบปะและสนทนาธรรม ระหว่างเวลา 12.00- 13.00 น ที่กุฎิประธานสงฆ์บริเวณ ลายไทรคู่ เป็นที่น่าเสียดาย ว่าไทรใหญ่ต้นหนื่ง ที่อยู่ด้านหน้าพระประธาน ได้หักล้มลง เมื่อคินวันที่ 25กันยายน 2549 จึงทำให้ในปัจจุบันคงเหลือต้นไทรในบริเวณลานไทรคู่เพียงต้นเดียว นี่เป็นสัจจะธรรม ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เที่ยง หลวงปู่บอกว่าไทรต้นนี้อายุประมาณ 420 ปีในโอกาสนี้ก็ขอนำภาพบรรยาการในกิจกรรมต่างๆของทางวัดมานำเสนอให้ท่านเพื่อประกอบการพิจารณาเพื่อตั้ดสิ้นใจเข้าวัดทำบุญ ศึกษาธรรมะ และปฏิบัติธรรม
ความเป็นมาวัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)
วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) ตั้งอยู่บนยอดเขาภูย่าใกล้หมู่บ้านนาหลวง อยู่ในเขตตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวอำเภอบ้านผือไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 46 กิโลเมตร ความเป็นมาเกี่ยวกับการตั้งวัดมีว่า เมื่อปี พ.ศ. 2529 พระราชสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร) เป็นพระสงฆ์ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้ปฏิบัติธรรมอย่างอุกฤษฏ์ มีความเข้าใจและซาบซึ้งในพระธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างยิ่ง อยู่มาวันหนึ่งได้ทำความเพียรอย่างยอดยิ่งได้เข้าสมาบัติอยู่จนล่วงเข้า ปัจฉิมยาม (เวลาโดยประมาณ 03.00 น.) เมื่อออกจากสมาบัติได้นิมิตเห็นหมู่เทพธิดา 4 ตน แต่งกายสวยงามสะอาดเรียบร้อยด้วยเสื้อสีขาว ผ้าถุงสีน้ำเงิน มือถือดอกฮวงสุ่ม (ดอกไม้ป่าเรียกชื่อและออกเสียงตามภาษาและสำเนียงท้องถิ่นอีสาน) ในมโนทวาร หลวงพ่อได้ทำความรู้สึกแผ่เมตตาสาราณียธาตุกว้างไกลโดยไม่มีประมาณ หลังจากนั้นความรู้สึกกระแสจิตสามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับเหล่าเทพธิดา ได้ และรับรู้ว่าเทพธิดาเหล่านั้นต้องการให้ท่านเดินทางไปบำเพ็ญเพียรสร้างพลัง ธรรมโปรดสรรพสัตว์ที่ ภูย่าอู่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกมีสัญลักษณ์สำคัญคือต้นไทรคู่ พระราชสิทธาจารย์ ตกลงใจว่าจะปฏิบัติตามคำขอร้องนั้นก่อนจากไปเทพธิดาตนหนึ่งได้กล่าวกับท่าน ว่า “จากนี้ไปอย่าไปเข้าถ้ำอีก” พูดจบแล้วได้เอาดอกฮวงสุ่มปิดปากถ้ำไว้ ฝ่ายเทพธิดาตนที่เป็นหัวหน้าได้กล่าวกับท่าน ด้วยถ้อยคำที่ไพเราะว่า “จงไปโปรดสัตว์เถิด”
ต่อมาหลวงพ่อ จึงปรารถนาที่จะเผยแผ่ให้พุทธศาสนิกชนได้ซาบซึ้งในธรรมรสนั้น ทั้งยังปรารถนาที่จะยังสันติธรรมให้เกิดมีแก่สังคมโลก จึงออกแสวงหาที่สับปายะ ในที่สุดได้ค้นพบภูย่าอู่ ต้นไทรคู่ตามนิมิต ตรงจุดที่ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า “ถ้ำเกิ้ง” อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำโสมนายูง บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เมื่อพิจารณาสภาพทางภูมิศาสตร์เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมกับการที่จะบำเพ็ญ บารมีธรรมปฏิบัติธรรมให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทั้งยังเป็นสถานที่ที่เห็นเป็นชัยภูมิเหมาะที่จะก่อตั้งเป็นวัดถาวรต่อไปใน อนาคตจึงตัดสินใจเลือกสถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งวัดแต่นั้นมา
ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2529 โดยการนำของหลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร พร้อมด้วยพระภิกษุอีก 5 รูป สามเณร 2 รูป ได้เลือกปักกลดใต้ร่มไทรคู่บนภูย่าอู่ มีศรัทธาสาธุชนชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงพร้อมทั้งโยมอุปัฏฐากได้ร่วมแรงร่วม ใจกันสร้างกุฏิชั่วคราวขื้นเพื่ออำนวยความสะดวกตามอัตภาพ
หลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร เป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีจริยวัตรงดงามสม่ำเสมอเหมาะสมแก่สมณสารูป มีความแน่วแน่มุ่งมั่นเสียสละเผยแผ่เมตตาธรรมต่อมหาชนไม่มีประมาณ ทำให้มีศิษย์เลื่อมใสศรัทธาเพิ่มมากขื้นอย่างกว้างขวาง บุคคลเหล่านั้นได้ร่วมใจกันบริจาคทุนทรัพย์จัดสร้างเสนาสนะเครื่องอุปโภค บริโภคที่จำเป็นภายในวัดขึ้น แต่สถานภาพยังคงเป็นสำนักปฏิบัติธรรม แม้กระนั้นในแต่ละปีมีพระภิกษุเข้าอยู่จำพรรษากว่าร้อยรูป ซึ่งล้วนมีความเคร่งครัดพากเพียรทั้งด้านสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน หลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร ได้ตั้งชื่อสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ว่า วัดอภิญญาเทสิตธรรม และเนื่องจากตั้งอยู่บนภูย่าอู่คนทั่วไปจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดภูย่าอู่ เป็นชื่อที่ผู้คนทั่วไปเรียกกันติดปากเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2543 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศแต่งตั้งให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ มีชื่อว่า “วัดนาหลวง”
ปัจจุบันสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี ได้ประกาศแต่งตั้งวัดนาหลวง ให้เป็นสำนักวิปัสสนาธุระประจำจังหวัดอุดรธานี โดยมีพระครูประภัสสรสุทธิคุณเป็นเจ้าสำนัก ทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมให้แก่พระสงฆ์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในเขตจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียงให้ได้รับประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์อย่างยิ่งเพื่อเกื้อกูลการธำรงส่งเสริมสืบทอดคำสอนของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ประกาศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นมา ผลงานของวัดที่ดำเนินการมาได้สนองเจตนารมณ์ตามประกาศได้ผลเป็นอย่างดี ทั้งนี้มีบุคคลสำคัญที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ คือ พระอธิการ บุญทัน อัคคธัมโม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส พระมหาสำรี ธัมมจาโร เป็นรองเจ้าอาวาส ภายใต้การอำนวยการเป็นประธานสงฆ์ คือ พระราชสิทธาจารย์ หรืออดีตพระครูประภัสสรสุทธิคุณ
วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) ตั้งอยู่บนยอดเขาภูย่าอู่ ซึ่งเป็นภูเขาลูกหนึ่งในกลุ่มเทือกเขาภูพานอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำ โสมนายูง อยู่ห่างจากตัวอำเภอบ้านผือไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 46 กิโลเมตร ห่างจากหมู่บ้านนาหลวงประมาณ 5 กิโลเมตร บริเวณที่ปลูกสร้างอาคารเสนาสนะต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในศาสนกิจและที่พำนักอาศัยของพระภิกษุสงฆ์ สามเณร แม่ชี ตลอดจนสถานที่ที่ใช้ในการอบรมพุทธศาสนิกชน ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและต้องการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานถือศีลบำเพ็ญ ภาวนามีประมาณ 15 ไร่ สำนักงานป่าไม้จังหวัดอุดรธานี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้ทางวัดช่วยดูแลป่าอุทยานแห่งชาติที่อยู่ ล้อมรอบมีเนื้อที่ทั้งหมดโดยประมาณ 25,000 ไร่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการอาศัยบารมีหลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร ประธานสงฆ์แห่งวัด ช่วยป้องกันการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าเป็นการอนุรักษ์ป่าไม้ต้นน้ำลำธารให้คง สภาพอุดมสมบูรณ์เสมอไป ลักษณะของป่าไม้บนภูเขาแห่งนี้มีทั้งส่วนที่เป็นป่าเดิมและป่าใหม่ที่ปลูก ขึ้นทดแทนได้รับการดูแลรักษาอย่างดี เป็นแบบอย่างในการรักษาระบบนิเวศสร้างความสมดุลให้ธรรมชาติ
อาณาเขตติดต่อของวัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านตาดน้ำพุ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านสระคลอง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านสว่างปากราง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านนาหลวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) ตั้งอยู่บนยอดเขาภูย่าใกล้หมู่บ้านนาหลวง อยู่ในเขตตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวอำเภอบ้านผือไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 46 กิโลเมตร ความเป็นมาเกี่ยวกับการตั้งวัดมีว่า เมื่อปี พ.ศ. 2529 พระราชสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร) เป็นพระสงฆ์ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้ปฏิบัติธรรมอย่างอุกฤษฏ์ มีความเข้าใจและซาบซึ้งในพระธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างยิ่ง อยู่มาวันหนึ่งได้ทำความเพียรอย่างยอดยิ่งได้เข้าสมาบัติอยู่จนล่วงเข้า ปัจฉิมยาม (เวลาโดยประมาณ 03.00 น.) เมื่อออกจากสมาบัติได้นิมิตเห็นหมู่เทพธิดา 4 ตน แต่งกายสวยงามสะอาดเรียบร้อยด้วยเสื้อสีขาว ผ้าถุงสีน้ำเงิน มือถือดอกฮวงสุ่ม (ดอกไม้ป่าเรียกชื่อและออกเสียงตามภาษาและสำเนียงท้องถิ่นอีสาน) ในมโนทวาร หลวงพ่อได้ทำความรู้สึกแผ่เมตตาสาราณียธาตุกว้างไกลโดยไม่มีประมาณ หลังจากนั้นความรู้สึกกระแสจิตสามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับเหล่าเทพธิดา ได้ และรับรู้ว่าเทพธิดาเหล่านั้นต้องการให้ท่านเดินทางไปบำเพ็ญเพียรสร้างพลัง ธรรมโปรดสรรพสัตว์ที่ ภูย่าอู่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกมีสัญลักษณ์สำคัญคือต้นไทรคู่ พระราชสิทธาจารย์ ตกลงใจว่าจะปฏิบัติตามคำขอร้องนั้นก่อนจากไปเทพธิดาตนหนึ่งได้กล่าวกับท่าน ว่า “จากนี้ไปอย่าไปเข้าถ้ำอีก” พูดจบแล้วได้เอาดอกฮวงสุ่มปิดปากถ้ำไว้ ฝ่ายเทพธิดาตนที่เป็นหัวหน้าได้กล่าวกับท่าน ด้วยถ้อยคำที่ไพเราะว่า “จงไปโปรดสัตว์เถิด”
ต่อมาหลวงพ่อ จึงปรารถนาที่จะเผยแผ่ให้พุทธศาสนิกชนได้ซาบซึ้งในธรรมรสนั้น ทั้งยังปรารถนาที่จะยังสันติธรรมให้เกิดมีแก่สังคมโลก จึงออกแสวงหาที่สับปายะ ในที่สุดได้ค้นพบภูย่าอู่ ต้นไทรคู่ตามนิมิต ตรงจุดที่ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า “ถ้ำเกิ้ง” อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำโสมนายูง บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เมื่อพิจารณาสภาพทางภูมิศาสตร์เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมกับการที่จะบำเพ็ญ บารมีธรรมปฏิบัติธรรมให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทั้งยังเป็นสถานที่ที่เห็นเป็นชัยภูมิเหมาะที่จะก่อตั้งเป็นวัดถาวรต่อไปใน อนาคตจึงตัดสินใจเลือกสถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งวัดแต่นั้นมา
ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2529 โดยการนำของหลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร พร้อมด้วยพระภิกษุอีก 5 รูป สามเณร 2 รูป ได้เลือกปักกลดใต้ร่มไทรคู่บนภูย่าอู่ มีศรัทธาสาธุชนชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงพร้อมทั้งโยมอุปัฏฐากได้ร่วมแรงร่วม ใจกันสร้างกุฏิชั่วคราวขื้นเพื่ออำนวยความสะดวกตามอัตภาพ
หลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร เป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีจริยวัตรงดงามสม่ำเสมอเหมาะสมแก่สมณสารูป มีความแน่วแน่มุ่งมั่นเสียสละเผยแผ่เมตตาธรรมต่อมหาชนไม่มีประมาณ ทำให้มีศิษย์เลื่อมใสศรัทธาเพิ่มมากขื้นอย่างกว้างขวาง บุคคลเหล่านั้นได้ร่วมใจกันบริจาคทุนทรัพย์จัดสร้างเสนาสนะเครื่องอุปโภค บริโภคที่จำเป็นภายในวัดขึ้น แต่สถานภาพยังคงเป็นสำนักปฏิบัติธรรม แม้กระนั้นในแต่ละปีมีพระภิกษุเข้าอยู่จำพรรษากว่าร้อยรูป ซึ่งล้วนมีความเคร่งครัดพากเพียรทั้งด้านสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน หลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร ได้ตั้งชื่อสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ว่า วัดอภิญญาเทสิตธรรม และเนื่องจากตั้งอยู่บนภูย่าอู่คนทั่วไปจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดภูย่าอู่ เป็นชื่อที่ผู้คนทั่วไปเรียกกันติดปากเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2543 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศแต่งตั้งให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ มีชื่อว่า “วัดนาหลวง”
ปัจจุบันสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี ได้ประกาศแต่งตั้งวัดนาหลวง ให้เป็นสำนักวิปัสสนาธุระประจำจังหวัดอุดรธานี โดยมีพระครูประภัสสรสุทธิคุณเป็นเจ้าสำนัก ทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมให้แก่พระสงฆ์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในเขตจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียงให้ได้รับประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์อย่างยิ่งเพื่อเกื้อกูลการธำรงส่งเสริมสืบทอดคำสอนของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ประกาศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นมา ผลงานของวัดที่ดำเนินการมาได้สนองเจตนารมณ์ตามประกาศได้ผลเป็นอย่างดี ทั้งนี้มีบุคคลสำคัญที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ คือ พระอธิการ บุญทัน อัคคธัมโม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส พระมหาสำรี ธัมมจาโร เป็นรองเจ้าอาวาส ภายใต้การอำนวยการเป็นประธานสงฆ์ คือ พระราชสิทธาจารย์ หรืออดีตพระครูประภัสสรสุทธิคุณ
วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) ตั้งอยู่บนยอดเขาภูย่าอู่ ซึ่งเป็นภูเขาลูกหนึ่งในกลุ่มเทือกเขาภูพานอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำ โสมนายูง อยู่ห่างจากตัวอำเภอบ้านผือไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 46 กิโลเมตร ห่างจากหมู่บ้านนาหลวงประมาณ 5 กิโลเมตร บริเวณที่ปลูกสร้างอาคารเสนาสนะต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในศาสนกิจและที่พำนักอาศัยของพระภิกษุสงฆ์ สามเณร แม่ชี ตลอดจนสถานที่ที่ใช้ในการอบรมพุทธศาสนิกชน ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและต้องการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานถือศีลบำเพ็ญ ภาวนามีประมาณ 15 ไร่ สำนักงานป่าไม้จังหวัดอุดรธานี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้ทางวัดช่วยดูแลป่าอุทยานแห่งชาติที่อยู่ ล้อมรอบมีเนื้อที่ทั้งหมดโดยประมาณ 25,000 ไร่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการอาศัยบารมีหลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร ประธานสงฆ์แห่งวัด ช่วยป้องกันการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าเป็นการอนุรักษ์ป่าไม้ต้นน้ำลำธารให้คง สภาพอุดมสมบูรณ์เสมอไป ลักษณะของป่าไม้บนภูเขาแห่งนี้มีทั้งส่วนที่เป็นป่าเดิมและป่าใหม่ที่ปลูก ขึ้นทดแทนได้รับการดูแลรักษาอย่างดี เป็นแบบอย่างในการรักษาระบบนิเวศสร้างความสมดุลให้ธรรมชาติ
อาณาเขตติดต่อของวัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านตาดน้ำพุ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านสระคลอง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านสว่างปากราง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านนาหลวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น