ข้อมูลทั่วไป
ในปี 2518 นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ กำนันตำบลนายูง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ได้มีหนังสือเสนอกรมป่าไม้ว่า ได้ร่วมกับหัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ อด.2 สำรวจพื้นที่ป่าในท้องที่ตำบลนายูง ในเขตเทือกเขาภูพานแล้วปรากฏว่า มีสภาพทั่วไปคล้ายคลึงกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชลบุรี ผิดแผกก็เฉพาะบนสันเขาของตำบลนายูงนี้มีความสวยงาม และน้ำตกสวยงามกว่ามาก เหมาะที่จะปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ กรมป่าไม้จึงให้กองบำรุงส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจหาข้อมูลดังกล่าว ปรากฏว่า ป่าตำบลนายูงแห่งนี้อยู่ในเขต ป่าโครงการไม้กระยาเลยนายูง (อด.25) ตอนที่ 10 อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ยังไม่เคยมีการทำไม้มาก่อน มีความสวยงามพอสมควร เห็นควรจัดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในรูปของวนอุทยาน กรมป่าไม้จึงได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2518 โดยอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานป่าไม้จังหวัดอุดรธานี
เนื่องจากบริเวณป่าที่ดำเนินการจัดตั้งเป็นวนอุทยานยังไม่ได้มีการสำรวจพื้นที่โดยละเอียด กรมป่าไม้จึงได้ให้สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานีไปดำเนินการ ปรากฏว่า วนอุทยานนายูง-น้ำโสมอยู่ในเขตป่าโครงการไม้กระยาเลยกลางใหญ่ (อด.26) ตอนที่ 7 และตอนที่ 8 เขตอำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี และป่าโครงการไม้กระยาเลยนายูง (อด.25) ตอนที่ 10 ตำบลนายูง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินายูง-น้ำโสม มีเนื้อที่ประมาณ 20.98 ตารางกิโลเมตร จนถึงปี พ.ศ. 2528 ได้โอนงานวนอุทยานนายูง-น้ำโสมให้สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานีเป็นผู้ดูแล ถึงปี พ.ศ. 2532 จึงโอนงานให้อยู่ในความดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้
ต่อมากรมป่าไม้ได้รับรายงานจากสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติว่า วนอุทยานนายูง-น้ำโสม และบริเวณพื้นที่ป่าใกล้เคียง ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์บางส่วนของป่าสงวนแห่งชาติป่าพรานพร้าว-แก้งไก้ ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเขาแก้ว-ดงปากชม และป่าสงวนแห่งชาติป่านายูง-น้ำโสม จังหวัดอุดรธานี เนื้อที่รวมประมาณ 215,000 ไร่ มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีสภาพธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะแก่การศึกษาท่องเที่ยวของประชาชนทั่วไป สมควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งให้หัวหน้าวนอุทยานนายูง-น้ำโสม ไปดำเนินการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสมต่อไป
ในปี 2518 นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ กำนันตำบลนายูง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ได้มีหนังสือเสนอกรมป่าไม้ว่า ได้ร่วมกับหัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ อด.2 สำรวจพื้นที่ป่าในท้องที่ตำบลนายูง ในเขตเทือกเขาภูพานแล้วปรากฏว่า มีสภาพทั่วไปคล้ายคลึงกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชลบุรี ผิดแผกก็เฉพาะบนสันเขาของตำบลนายูงนี้มีความสวยงาม และน้ำตกสวยงามกว่ามาก เหมาะที่จะปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ กรมป่าไม้จึงให้กองบำรุงส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจหาข้อมูลดังกล่าว ปรากฏว่า ป่าตำบลนายูงแห่งนี้อยู่ในเขต ป่าโครงการไม้กระยาเลยนายูง (อด.25) ตอนที่ 10 อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ยังไม่เคยมีการทำไม้มาก่อน มีความสวยงามพอสมควร เห็นควรจัดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในรูปของวนอุทยาน กรมป่าไม้จึงได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2518 โดยอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานป่าไม้จังหวัดอุดรธานี
เนื่องจากบริเวณป่าที่ดำเนินการจัดตั้งเป็นวนอุทยานยังไม่ได้มีการสำรวจพื้นที่โดยละเอียด กรมป่าไม้จึงได้ให้สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานีไปดำเนินการ ปรากฏว่า วนอุทยานนายูง-น้ำโสมอยู่ในเขตป่าโครงการไม้กระยาเลยกลางใหญ่ (อด.26) ตอนที่ 7 และตอนที่ 8 เขตอำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี และป่าโครงการไม้กระยาเลยนายูง (อด.25) ตอนที่ 10 ตำบลนายูง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินายูง-น้ำโสม มีเนื้อที่ประมาณ 20.98 ตารางกิโลเมตร จนถึงปี พ.ศ. 2528 ได้โอนงานวนอุทยานนายูง-น้ำโสมให้สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานีเป็นผู้ดูแล ถึงปี พ.ศ. 2532 จึงโอนงานให้อยู่ในความดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้
ต่อมากรมป่าไม้ได้รับรายงานจากสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติว่า วนอุทยานนายูง-น้ำโสม และบริเวณพื้นที่ป่าใกล้เคียง ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์บางส่วนของป่าสงวนแห่งชาติป่าพรานพร้าว-แก้งไก้ ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเขาแก้ว-ดงปากชม และป่าสงวนแห่งชาติป่านายูง-น้ำโสม จังหวัดอุดรธานี เนื้อที่รวมประมาณ 215,000 ไร่ มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีสภาพธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะแก่การศึกษาท่องเที่ยวของประชาชนทั่วไป สมควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งให้หัวหน้าวนอุทยานนายูง-น้ำโสม ไปดำเนินการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสมต่อไป
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม เป็นพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี เลย และหนองคาย มีสภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงชันสลับซับซ้อนที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-500 เมตร ภูเขาที่สูงที่สุดคือ ภูย่าอู่ สูงประมาณ 588 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่ยังอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ เช่น ห้วยน้ำโสม ห้วยตาดโตน ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณและดินลูกรังตามป่าเต็งรัง หินที่พบในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินทราย
อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม เป็นพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี เลย และหนองคาย มีสภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงชันสลับซับซ้อนที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-500 เมตร ภูเขาที่สูงที่สุดคือ ภูย่าอู่ สูงประมาณ 588 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่ยังอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ เช่น ห้วยน้ำโสม ห้วยตาดโตน ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณและดินลูกรังตามป่าเต็งรัง หินที่พบในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินทราย
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม ฤดูร้อนอากาศร้อนมาก อุณหภูมิประมาณ 40 oC ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม และฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิประมาณ 10-20 oC ปริมาณน้ำฝนตลอดปีประมาณ 1,000-1,500 มิลลิเมตร
สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม ฤดูร้อนอากาศร้อนมาก อุณหภูมิประมาณ 40 oC ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม และฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิประมาณ 10-20 oC ปริมาณน้ำฝนตลอดปีประมาณ 1,000-1,500 มิลลิเมตร
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังกระจายตามเชิงเขาและสันเขา พันธุ์ไม้สำคัญคือ เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นหญ้าเพ็ก กระเจียว ตามหุบเขาเป็นป่าเบญจพรรณ มีชิงชัน แดง ประดู่ มะค่าแต้ และไผ่หลายชนิด เช่น ไผ่ซาง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ไร่ ไผ่ป่า ตามริมห้วยเป็นป่าดิบแล้ง พบยาง กระบาก ตะเคียน ตะแบก มะค่าโมง ฯลฯ พืชอิงอาศัยจะมีกล้วยไม้ต่างๆ และเฟินกระเช้าสีดา ขึ้นเกาะอยู่ตามคาคบไม้อยู่มากมาย พืชพื้นล่างเป็นพวกหวาย ปาล์ม สมุนไพรต่างๆ
สัตว์ป่าที่พบเห็นได้แก่ หมูป่า เก้ง กระจง ลิง ค่าง กระรอก ตะกวด งู และนกชนิดต่างๆ ส่วนสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น กวางป่า เสือ ช้างป่า หมีควาย ถูกล่าหมดไปแล้ว สัตว์ป่าที่เหลือก็อยู่ในสถานภาพถูกคุกคาม เนื่องจากราษฎรรอบพื้นที่ยังมีการล่าสัตว์อยู่เป็นประจำ
สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังกระจายตามเชิงเขาและสันเขา พันธุ์ไม้สำคัญคือ เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นหญ้าเพ็ก กระเจียว ตามหุบเขาเป็นป่าเบญจพรรณ มีชิงชัน แดง ประดู่ มะค่าแต้ และไผ่หลายชนิด เช่น ไผ่ซาง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ไร่ ไผ่ป่า ตามริมห้วยเป็นป่าดิบแล้ง พบยาง กระบาก ตะเคียน ตะแบก มะค่าโมง ฯลฯ พืชอิงอาศัยจะมีกล้วยไม้ต่างๆ และเฟินกระเช้าสีดา ขึ้นเกาะอยู่ตามคาคบไม้อยู่มากมาย พืชพื้นล่างเป็นพวกหวาย ปาล์ม สมุนไพรต่างๆ
สัตว์ป่าที่พบเห็นได้แก่ หมูป่า เก้ง กระจง ลิง ค่าง กระรอก ตะกวด งู และนกชนิดต่างๆ ส่วนสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น กวางป่า เสือ ช้างป่า หมีควาย ถูกล่าหมดไปแล้ว สัตว์ป่าที่เหลือก็อยู่ในสถานภาพถูกคุกคาม เนื่องจากราษฎรรอบพื้นที่ยังมีการล่าสัตว์อยู่เป็นประจำ
น้ำตกยูงทอง
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 500 เมตร มีความสวยงามมากในช่วงน้ำหลากในฤดูฝน ลักษณะเป็นน้ำตกที่ไหลลงมาจาหน้าผาชันสูงราว 25 เมตร มีแอ่งน้ำกว้างลงเล่นน้ำได้ ในอดีตเป็นแหล่งอาศัยและหากินของนกยูง จนเป็นที่มาของชื่อ ยูงทอง
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 500 เมตร มีความสวยงามมากในช่วงน้ำหลากในฤดูฝน ลักษณะเป็นน้ำตกที่ไหลลงมาจาหน้าผาชันสูงราว 25 เมตร มีแอ่งน้ำกว้างลงเล่นน้ำได้ ในอดีตเป็นแหล่งอาศัยและหากินของนกยูง จนเป็นที่มาของชื่อ ยูงทอง
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก
จุดชมทิวทัศน์ผาแดง
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1,500 เมตร ตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง เป็นหน้าผาหินทรายที่สูงชัน มองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามเบื้องล่างได้กว้างไกล ใกล้กับผาแดงมีหลืบถ้ำเล็กๆ ที่เคยเป็นที่วิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1,500 เมตร ตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง เป็นหน้าผาหินทรายที่สูงชัน มองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามเบื้องล่างได้กว้างไกล ใกล้กับผาแดงมีหลืบถ้ำเล็กๆ ที่เคยเป็นที่วิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง
เป็นทางเดินเท้าเพื่อศึกษาธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติจัดทำขึ้นเพื่อสื่อความหมายธรรมชาติแก่ผู้มาเยือน โดยได้จัดทำสื่อบรรยายลักษณะทางธรรมชาติตามเส้นทางเป็นระยะ ผ่านน้ำตกยูงทอง น้ำตกตาดน้อย จุดชมทิวทัศน์ผาแดง สภาพป่าเต็งรังที่สวยงาม และกลับถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทาง 2,000 เมตร
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เป็นทางเดินเท้าเพื่อศึกษาธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติจัดทำขึ้นเพื่อสื่อความหมายธรรมชาติแก่ผู้มาเยือน โดยได้จัดทำสื่อบรรยายลักษณะทางธรรมชาติตามเส้นทางเป็นระยะ ผ่านน้ำตกยูงทอง น้ำตกตาดน้อย จุดชมทิวทัศน์ผาแดง สภาพป่าเต็งรังที่สวยงาม และกลับถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทาง 2,000 เมตร
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
น้ำตกธารทิพย์
น้ำตกธารทิพย์ (หรือ น้ำตกตาดหมอก) เป็นน้ำตกที่อยู่ในเขตจังหวัดหนองคาย อยู่ติดกับแม่น้ำโขง
น้ำตกธารทิพย์ (หรือ น้ำตกตาดหมอก) เป็นน้ำตกที่อยู่ในเขตจังหวัดหนองคาย อยู่ติดกับแม่น้ำโขง
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม
หมู่ 2 บ้านสว่าง ต.นายูง อ. นายูง จ. อุดรธานี 41380
อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม
หมู่ 2 บ้านสว่าง ต.นายูง อ. นายูง จ. อุดรธานี 41380
การเดินทาง
รถยนต์
จากจังหวัดอุดรธานีไปตามทางหลวงสายอุดรธานี-หนองคาย 15 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายผ่านอำเภอบ้านผือ ไปทางอำเภอน้ำโสม ก่อนถึงอำเภอน้ำโสม 12 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่บ้านสามเหลี่ยมไปทางอำเภอนายูง ประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงบ้านสว่างเลี้ยวขวาตรงป้ายอุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางจากอุดรธานี 110 กิโลเมตร
รถยนต์
จากจังหวัดอุดรธานีไปตามทางหลวงสายอุดรธานี-หนองคาย 15 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายผ่านอำเภอบ้านผือ ไปทางอำเภอน้ำโสม ก่อนถึงอำเภอน้ำโสม 12 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่บ้านสามเหลี่ยมไปทางอำเภอนายูง ประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงบ้านสว่างเลี้ยวขวาตรงป้ายอุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางจากอุดรธานี 110 กิโลเมตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น